การประเมินผลโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาของคณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
คำสำคัญ:
การประเมินผล, การแลกเปลี่ยนนักศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยประเมินผล มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินงานโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาของคณะวิทยาการอิสลาม โดยใช้แนวคิดการประเมิน CIPP Model ของสตัฟเฟิลบีม เป็นกรอบในการประเมิน กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาที่ผ่านการเข้าร่วมโครงการจำนวน 181 คน นักศึกษาที่กำลังร่วมโครงการ ณ มหาวิทยาลัยในต่างประเทศจำนวน 8 คน และอาจารย์ผู้ดูแลนักศึกษา ณ มหาวิทยาลัยในต่างประเทศจำนวน 2 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และหาค่าความเที่ยงโดยมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค 0.866 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการประเมิน ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า นักศึกษามีความเห็นว่าโครงการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( =3.97, S.D.=.81) ด้านกระบวนการ พบว่า อยู่ในระดับมาก ( = 4.19, S.D.=.82) ด้านผลลัพธ์ได้แก่ความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.54, S.D.=.77) และด้านปัญหาและอุปสรรคในการเข้าร่วมโครงการ พบว่า อยู่ในระดับมาก ( =3.56, S.D.=.53) สำหรับผลการประเมินข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่า สาเหตุที่นักศึกษาต้องการไปเรียนที่มหาวิทยาลัยในต่างประเทศมากที่สุดคือ ต้องการเปิดมุมมองด้านภาษา ต้องการมีประสบการณ์ในการใช้ชีวิตต่างประเทศ และต้องการเรียนรู้วัฒนธรรมความเป็นอยู่ของต่างชาติ และอาจารย์ผู้สอน ณ มหาวิทยาลัยในต่างประเทศเห็นว่านักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการมีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรม สามารถปรับตัวเข้ากับเพื่อนต่างชาติได้ดี แต่มีปัญหาสำหรับนักศึกษาบางส่วนที่ไม่สามารถสื่อสารภาษามลายูได้
References
กาญจนา วัธนสุนทร. (2551). “การประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมิน CIPP ของสตัฟเฟิลบีม ในการประเมินโครงการทางการศึกษา”. Suranaree Journal of Social Science. ปีที่ 2 ฉบับที่ 1. หน้า 67-83.
กุลธิดา สิงห์สี. (2557). “อุดมศึกษาไทยในอาเซียน รูปแบบ แนวโน้ม และทิศทางการปรับตัวในอนาคต”. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. ปีที่ 2 ฉบับที่ 2. หน้า 13-23.
เชาว์ อินใย. (2555). การประเมินโครงการ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิดา ลาภศรีสวัสดิ์ และ Fumiyasu Maeno. (2555). “การพัฒนาทักษะการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ของนักศึกษาระหว่างสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังกับมหาวิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่น”. เอกสารการประชุมวิชาการทางการศึกษา ระดับชาติ ครั้งที่ 2.
นิศาชล รัตนมณี และ ประสพชัย พสุนนท์. (2562). “อัตราการตอบกลับของแบบสอบถามในการวิจัยเชิงปริมาณ”. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University. Vol. 13 No. 3 (September – December). หน้า 181-188.
บุญใจ ศรีสถิตนรากูล. (2550). ระเบียบวิธีการวิจัย: แนวทางปฏิบัติสู่ความสำเร็จ. กรุงเทพมหานคร : ยู แอนด์ ไอ อินเตอร์มีเดีย.
พรสันต์ เลิศวิทยาวิวัฒน์. (2562). “ประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการที่มีต่อโครงการแลกเปลี่ยนวัฒธรรมและการเรียนรู้ไทย-สิงคโปร์ โรงเรียนมัธยมศาสตร์ จังหวัดลำปาง”. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. ปีที่ 13 ฉบับที่ 3. (กรกฏาคม-กันยายน 2562). หน้า 26-38.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รัตนะ บัวสนธ์. (2556). วิธีการเชิงผสมผสานสำหรับการวิจัยและการประเมิน. (พิมพ์ครั้งที่ 2)กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิทยาลัยอิสลามศึกษา. (2560). รายงานการประเมินตนเองตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (Ed PEx) วิทยาลัยอิสลามศึกษา ประจำปีการศึกษา 2559. วิทยาลัยอิสลามศึกษา.
ศิริชัย กาญจนวาสี ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์ และดิเรก ศรีสุโข (2555). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสม สำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Altbach, P.G. & Ebgberg, D. (2014). “Global Student Mobility: The Changing Landscape”. International Higher Education Journal. Vol 77, Pp 11-13.
Kehm, B. M. (2005). “The Contribution of International Student Mobility to Human Development and Global Understanding”. Journal of US-China Education Review. Vol 2 No. 1. pp 18-24.
Konevas, L., & Duoba, K. (2007). “The role of student mobility in the development of human Capital in Europe”. Journal of Economic and Management. Vol 12. Pp 585 -591.
Mechtenberg, L., & Strausz, R. (2008). “The Bologna process: how student mobility affects multi-Cultural skills and educational quality”. International Journal Tax Public Finance. Vol 15. pp 109-130.
Nunnally,J. C. (1978). Psychometric Theory (2nd ed.). New York, NY: McGraw-Hill.
Sekaran, U., & Bougie, R. (2013). Research method for business: A skill-building approach. (6thed). John Wiley & Sons Ltd.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยปทุมธานี
ข้อความที่ปรากฎในบทความแต่ละเรื่อง เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใด ๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว