ผลของการจัดกิจกรรมการเล่นวัสดุสร้างสรรค์ที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ด้านความรู้สึกเชิงจำนวนสำหรับเด็กปฐมวัย
คำสำคัญ:
กิจกรรมการเล่นวัสดุสร้างสรรค์, ความรู้สึกเชิงจำนวน, เด็กปฐมวัยบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ด้านความรู้สึกเชิงจำนวนสำหรับเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเล่นวัสดุสร้างสรรค์ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 4-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนธัญญสิทธิศิลป์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต 2 จำนวนทั้งหมด 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แผนการจัดประสบการณ์การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ด้านความรู้สึกเชิงจำนวน โดยผ่านการจัดกิจกรรมการเล่นวัสดุสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย จำนวน 24 แผน แบบประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ด้านความรู้สึกเชิงจำนวนสำหรับเด็กปฐมวัย การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่นวัสดุสร้างสรรค์มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ด้านความรู้สึกเชิงจำนวนสูงขึ้นกว่าก่อนการจัดกิจกรรมทั้งโดยรวมและรายด้าน
References
กมลวรรณ ศรีสำราญ และอรพรรณ บุตรกตัญญู. (2561). ผลการใช้กิจกรรมการเล่นวัสดุสร้างสรรค์อย่างมีจุดหมายที่มีต่อการตระหนักรู้และเข้าใจตนเองของเด็กปฐมวัย. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปฐมวัยศึกษา.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2547). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร: เอดิสัน เพรส โปรดักส์.
ประเสริฐ บุญเกิด และคนอื่น ๆ. (2558). 10 ปีการเรียนรู้ตามหลักพัฒนาสมอง (Brain – based Learning). สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน). ในงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (น. 4). กรุงเทพมหานคร : สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน).
รมร แย้มประทุม. (2559). “ความสำคัญของการเล่นต่อพัฒนาการเด็ก”. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกัน แห่งประเทศไทย. ปีที่ 6 ฉบับที่ 3. หน้า 275–281.
รุ่งอรุณ ลียะวณิชย์. (2555). คู่มือครูคณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วาทินี บรรจง และชนิสรา ใจชัยภูมิ. (2563). อบรมออนไลน์เชิงปฏิบัติการเรื่องสื่อสร้างสรรค์มหัศจรรย์การเล่น. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.facebook.com/LoosePartsKits/. เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). กรอบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ.
Mincemoyer, C. C. (2016). Loose Parts: What does this mean?. [Online]. Available from https://drive.google.com/file/d/1K3cib3fkmxRnjcveurN6__XpqXFydMuQS.
Piaget, J. (1966). The construction of reality in the child. New York, NY: Ballantyne Books.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยปทุมธานี
ข้อความที่ปรากฎในบทความแต่ละเรื่อง เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใด ๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว