แบบจำลองคอมโพสิตเชิงยืนยันของบัณฑิตบริหารธุรกิจ ในความต้องการพัฒนาทักษะ

ผู้แต่ง

  • Chawala lawatin Valaya Alongkorn Rajabhat University

คำสำคัญ:

แบบจำลองคอมโพสิตเชิงยืนยัน , การพัฒนาทักษะ , บัณฑิตบริหารธุรกิจ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการพัฒนาทักษะของบัณฑิตบริหารธุรกิจ 2) ศึกษาอิทธิพลของความต้องการพัฒนาทักษะกลุ่มทักษะสำคัญพื้นฐาน ความต้องการพัฒนาทักษะในกลุ่มทักษะความสามารถ และความต้องการพัฒนาทักษะในกลุ่มทักษะบทบาทในสังคมที่มีต่อความต้องการในการพัฒนาทักษะของบัณฑิตบริหารธุรกิจ โดยวิธีคอมโพสิตเชิงยืนยัน กลุ่มตัวอย่าง คือผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี ในช่วงปี พ.ศ. 2560-2563 จำนวน 150 คน ตามวิธีคำนวณของ Soper

ผลการวิจัยพบว่า บัณฑิตบริหารธุรกิจมีความต้องการพัฒนาทักษะ แบบจำลองคอมโพสิตเชิงยืนยันพบว่าแบบจำลองและข้อมูลเชิงประจักษ์กลมกลืนสอดคล้องกันดี ขณะที่แบบจำลองการวัดดัชนีวัดมีคุณภาพดีเหมาะสมเป็นดัชนีวัดทุกตัว และ ในแบบจำลองโครงสร้างทั้งสามเส้นทางมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่งผลให้ยอมรับสมมติฐานทั้งสามเส้นทาง คือ ต้องการพัฒนาทักษะทั้งสามด้าน โดยด้านที่มีความเข้มแข็งสุดคือ ความต้องการพัฒนากลุ่มทักษะบทบาทในสังคม

References

ฉันธะ จันทะเสนา. (2563). “วิธีการรายงานผลการศึกษาของตัวแปรสร้างระดับที่สองของ PLS-SEM”. วารสารจุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์. ปีที่ 42 ฉบับที่ 3. หน้า 39-67.

_____. (2563). “การวิเคราะห์คอมโพสิตเชิงยืนยันด้วยวิธีสมการโครงสร้างกำลังสองน้อยที่สุดบางส่วน”. วารสารการบัญชีและการจัดการ. ปีที่ 14 ฉบับที่ 1. หน้า 126-141.

ทิวา ดอนลาว และคณะ. (2564). “อนาคตแรงงานไทยภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลง”. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ. ปีที่ 9 ฉบับที่ 1. หน้า 35-44.

นิตยา จันตะคุน. (2560). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทักษะของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เพื่อการพัฒนาคุณภาพนักศึกษาในศตวรรษที่ 21. รายงานผลการวิจัย. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2555). ระเบียบวิธีการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : ยูแอนด์ไออินเตอร์ มีเดีย.

บุษกร วัฒนบุตร. (2564). “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนา Soft Skills ของเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21”. วารสารวิจัยวิชาการ. ปีที่ 4 ฉบับที่ 1. หน้า 87-94.

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. ไฟนอลคอล ปรับ เปลี่ยน เพิ่ม ทักษะแรงงานอนาคต. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.ftpi.or.th/2018/22765

สำนักงาน ก.พ.. วารสารข้าราชการ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/document/ocsc_e-journal-year-62-2-2563.pdf

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.nesdb.go.th/Portals/0/news/plan/p11/SummaryPlan11_thai.pdf

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. ความฝึกฝนทักษะเพื่อเป็นวัตกรในศตวรรษที่ 21. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.nia.or.th/5I

Daniel Soper. Calculator: A-Priori Sample Size for Structural Equation Models. [Online]. From:https://danielsoper.com/statcalc/calculator. aspx?id=89

Henseler, J. (2017). “Bridging design and behavioral research with variance-based structural equation modeling”. Journal of Advertising. Vol 46 No. 1. pp 178-192.

McKinsey & Company. To emerge stronger from the COVID-19 crisis, companies should start reskilling their workforces now. [Online]. From: https://www.mckinsey.com/business-functions/people-and-organizational-performance/our-insights/to-emerge-stronger-from-the-covid-19-crisis-companies-should-start-reskilling-their-workforces-now

World Economic Forum. Ten 21st-century skills every student needs. [Online]. From: https://www.weforum.org/agenda/2016/03/21st-century-skills-future-jobs-students/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-26

How to Cite

lawatin, C. (2022). แบบจำลองคอมโพสิตเชิงยืนยันของบัณฑิตบริหารธุรกิจ ในความต้องการพัฒนาทักษะ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 14(1), 148–161. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ptujournal/article/view/255536