การพัฒนาการบริหารงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาล ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • นายพยุงศักดิ์ ภักดีพล -

คำสำคัญ:

งบประมาณ, การบริหาร , หลักธรรมาภิบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2) ศึกษาปัญหา อุปสรรคในการบริหารงบประมาณของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ 3) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาการบริหารงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมาย ผู้บริหาร 2 คน บุคลากรสายวิชาการ 2 คน บุคลากรสายสนับสนุน 2 คน และผู้นำองค์กรนิสิต 2 คน จำนวนทั้งหมด 8 คน โดยวิธีการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและสรุปผลเชิงพรรณนา

            ผลการวิจัย พบว่า 1) การบริหารงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =3.99) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือด้านหลักภาระรับผิดชอบ ( = 4.52) อยู่ในระดับมากที่สุด และอยู่ในระดับมาก 5 ด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านหลักการมีส่วนร่วม ( =4.14) ด้านหลักนิติธรรม ( =3.89) ด้านหลักความคุ้มค่า ( =3.87) ด้านหลักความคุณธรรม ( =3.83) และด้านหลักความโปร่งใส ( =3.72) ตามลำดับ 2) ปัญหา อุปสรรค ในการบริหารงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลของคณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พบว่า  ด้านหลักความโปร่งใส (Transparency)  ยังพบปัญหา อุปสรรคด้านระบบการตรวจสอบการทำงานภายในคณะฯ การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ตามความเหมาะสม และ การรายงานผลการปฏิบัติงานของหน่วยงาน ให้บุคลากรในคณะฯ และบุคคลภายนอกได้รับทราบอย่างสม่ำเสมอ 3) แนวทางการพัฒนาการบริหารงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ควรมีการสร้างมาตรการตรวจสอบภายในที่มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้นและบริหารโดยการกำหนดบุคลากรที่เหมาะสมกับภาระงานของหน่วยงาน

References

เกษม วัฒนชัย. (2546). การบริหารเพื่อพัฒนาคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร : บริษัท เซ็นจูรี่ จำกัด.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้นฉบับปรับปรุงใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาสน์.

พีรสิทธิ์ คำนวณศิลป์ และ ธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชา. (2559). พัฒนาการการบริหารภาครัฐไทย: จากอดีตสู่อนาคต Development of Public Sector Management in Thailand: From the Past to the Future. ขอนแก่น : วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น. หน้า 52.

ลัดดา ผลวัฒนะ. (2557). “ธรรมาภิบาลกับการบริหารมหาวิทยาลัยGOOD GOVERNANCE FOR UNIVERSITY ADMINISTRATION”. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา. ปีที่ 8 ฉบับที่ 2. (เมษายน - กันยายน 2557) หน้า 25.

สถาบันคลังสมองของชาติ. (2552). ธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย. ปีที่ 1 ฉบับที่ 1. หน้า 10-21.

สามารถ อัยกร และคนอื่น ๆ. “องค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาลในมหาวิทยาลัยราชภัฏ”. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา. ปีที่ 12 ฉบับที่ 2. (พฤษภาคม-สิงหาคม). หน้า 280.

_______ . (2561). คู่มือปฏิบัติงานการจัดทําประมาณการรายรับเงินรายได้ ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. กองแผนงาน สํานักงานอธิการบดี. 2561, น. 2.

_______ . (2563). รายงานประจำปีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม : คลังนานาวิทยา.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). “On the use of content specialists in the assessment ofcriterion-referenced test item validity”. Dutch Journal of Educational Research. Vol. 2. pp 49-60.

Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-28

How to Cite

ภักดีพล น. (2022). การพัฒนาการบริหารงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาล ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 14(2), 139–154. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ptujournal/article/view/261485