การบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยาในสภาวะวิกฤตภัยแล้ง

ผู้แต่ง

  • ทองเปลว กองจันทร์

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการน้ำ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปริมาณน้ำต่ำสุดที่จำเป็นต้องใช้ใน
กิจกรรมการใช้น้ำประเภทต่าง ๆ เพื่อประเมินความพึงพอใจในมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร
ผู้ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำ และเพื่อนำเสนอแนวทางการบริหารจัดการน้ำในสภาวะ
วิกฤต และมาตรการช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยศึกษาวิเคราะห์
กระบวนการ รูปแบบ และลักษณะของยุทธศาสตร์ชาติและนโยบายการบริหารจัดการน้ำ
ของไทย โดยมุ่งเน้นการวิเคราะห์ความชัดเจน ความเฉพาะเจาะจง ความสามารถในการ
แปลงนโยบายไปสู่แผนการปฏิบัติความเหมาะสมของเนื้อหากับกรอบเวลา การวิจัยครั้งนี้
รวบรวมข้อมูลทุติยภูมิด้านการวางแผนพัฒนาแหล่งน้ำและการบริหารจัดการน้ำ รวมทั้ง
การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการน้ำ การจัดประชุมกลุ่มย่อยกับ
กลุ่มข้าราชการที่ปฏิบัติงานด้านการบริหารจัดการน ำ้ และกลุ่มเกษตรกร การสัมภาษณ์ตาม
แบบสอบถามจากกลุ่มข้าราชการและกลุ่มเกษตรกรในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาจำนวน
1,025 ตัวอย่าง กระจายในพื้นที่ 13 จังหวัด ของสำนักงานชลประทานที่ 10, 11 และ
12 และใช้เครื่องมือทางสถิติในการวิเคราะห์ผลการวิจัย
จากผลการศึกษาพบว่าปริมาณน้ำต่ำสุดที่จำเป็นต้องใช้ในกิจกรรมการใช้น้ำ
ประเภทต่าง ๆ ในลุ่มน้ำเจ้าพระยามีค่าเท่ากับ 18 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน คิดเป็น
ปริมาณนำ้เพื่อการอุปโภคบริโภค การรักษาระบบนิเวศ และการเกษตรต่อเนื่องเท่ากับ
7, 8 และ 3 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวันตามลำดับ ดังนั้นจึงควรสำรองน้ำต้นทุนอย่างน้อย
3,258 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อให้เพียงพอสำหรับไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง และควรสำรองเพิ่ม
อีก 1,098 ล้านลูกบาศก์เมตร เผื่อสำหรับกรณีฝนทิ้งช่วงในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน
รวมเป็น 4,356 ลูกบาศก์เมตร ดังที่เกิดขึ้นในช่วงปี 2559
สำหรับมาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำใน
ปี 2558 จากผลการศึกษาพบว่าเกษตรกรมีความพึงพอใจในระดับมากต่อมาตรการชะลอ
หรือขยายระยะเวลาชำระหนี้ที่เกษตรกรมีภาระหนี้กับสถาบันการเงิน มาตรการเพิ่มปริมาณ
น้ำต้นทุน มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ และมาตรการจ้างงานเพื่อสร้างรายได้ให้
แก่เกษตรกร โดยความคิดเห็นส่วนใหญ่สรุปว่าปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการ
น้ำเกิดขึ้นจากการขาดแคลนแหล่งกักเก็บน้ำ/ขาดแหล่งน้ำต้นทุน การบริหารจัดการน้ำ ประชาชน/เกษตรกรไม่ให้ความร่วมมือ และการประชาสัมพันธ์ โดยที่ความร่วมมือของ
เกษตรกร/ประชาชนในการปฏิบัติตามกติกา คำแนะนำของภาครัฐ และความร่วมมือการทำ งานแบบบูรณาการของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการบริหารจัดการ
บทคัดย่อ
รัฏฐาภิรักษ์
10 วารสารราย 4 เดือน ปีที่ 60 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2561
น้ำในสภาวะวิกฤตภัยแล้ง ทั้งนี้ ความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการน้ำของกรมชลประทานใน
สภาวะวิกฤตที่ผ่านพบว่าอยู่ในระดับปานกลางถึงมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 93.46
แนวทางที่เหมาะสมสำหรับการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาในสภาวะวิกฤต
ภัยแล้งในวิธีการปฏิบัติที่ดี (Good Practice) ต่อการบริหารจัดการน้ำของลุ่มน้ำเจ้าพระยา
ในสภาวะวิกฤตภัยแล้งได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพจะต้องเตรียมการในด้านต่าง ๆ
ประกอบด้วยด้านนโยบายการบริหารจัดการน้ำ ควรมีการทบทวน แก้ไข กฎระเบียบ/กฎหมาย
ที่เกี่ยวข้องกับการเยียวยาช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติทางการเกษตร เพื่อให้สอดรับ
กับการปฏิบัติงานในพื้นที่และสามารถช่วยเหลือได้ทันต่อสถานการณ ์ และควรมีระบบการ
บริหารจัดการสถานการณ์ภัยพิบัติในรูปแบบของ Single Command (หน่วยงานกลาง)
ส่วนด้านการบริหารจัดการน้ำต้นทุนควรมีการพัฒนาระบบบริหารจัดการความเสี่ยงจากภัย
แล้งในระดับชาติและระดับจังหวัดให้มีความเป็นเอกภาพ ควรมีการบูรณาการฐานข้อมูลที่
เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ และการพัฒนาเครื่องมือและการใช้เทคโนโลยี
สำหรับการบริหารจัดการน้ำ โดยผ่านช่องทางการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความร่วมมือระหว่าง
กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ สำหรับด้านบริหารจัดการความต้องการใช้น้ำ ควรมีการบริหารจัดการ
พื้นที่เกษตรกรรม (Zoning) ให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำในอนาคต และการปลูกพืชอื่น ๆ
ที่ใช้นำ้น้อยแทนการทำนาปรัง และในด้านการสร้างองค์ความรู้ การมีส่วนร่วม และการ
ประชาสัมพันธ์ควรมีการเสริมสร้างองค์ความรู้และทักษะในการจัดการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับ
การป้องกันและบรรเทาผลกระทบ มีการสร้างกลไกเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจในทุก
มิติของการบริหารจัดการภัยพิบัติ มีการส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ทั้ง
ภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน รวมทั้งการสร้างช่องทางการเตือนภัยและการเข้าถึง
ข้อมูลข่าวสาร โดยประยุกต์ใช้สารสนเทศและการสื่อสารสถานการณ์ภัยแล้งต่อสาธารณชน
ให้รับรู้และเข้าใจเพื่อให้เกิดความตระหนักและเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเองในการปรับตัว
และเตรียมพร้อมเพื่อบรรเทาผลกระทบ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-13