แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมเคมีเพื่อสิ่งแวดล้อมเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจชีวภาพ

ผู้แต่ง

  • ปฏิภาณ สุคนธมาน

คำสำคัญ:

อุตสาหกรรมเคมีเพื่อสิ่งแวดล้อม, เศรษฐกิจชีวภาพ, อ้อย, ผลิตภัณฑ์ชีวภาพ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปและปัญหาของอุตสาหกรรมเคมี
เพื่อสิ่งแวดล้อม และเพื่อน เสนอแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมเคมีเพื่อสิ่งแวดล้อม
ในประเทศไทยอย่างยั่งยืน ดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาข้อมูลปฐมภูมิและ
ทุติยภูมิจากแหล่งต่าง ๆ และสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรมเคมี
เพื่อสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าอุตสาหกรรมเคมีเพื่อสิ่งแวดล้อม
มีบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่มของ
ผลิตผลทางการเกษตรด้วยกระบวนการทางชีวภาพให้เป็นผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่เป็นมิตร
ต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งเชื้อเพลิงชีวภาพ (Bio-Fuels) เคมีชีวภาพ (Bio-Chemicals) และ
พลาสติกชีวภาพ (Bio-Plastics) ลักษณะสำคัญของการพัฒนาอุตสาหกรรมเคมีเพื่อ
สิ่งแวดล้อมในประเทศต่าง ๆ คือ การมีทำเลที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมเคมีเพื่อสิ่งแวดล้อม
อยู่ในบริเวณเดียวกันและอยู่ใกล้กับแหล่งวัตถุดิบชีวภาพ วางแผนและใช้ประโยชน์วัตถุดิบ
ชีวภาพให้ได้ประโยชน์สูงสุด การพัฒนาอุตสาหกรรมเคมีเพื่อสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย
กรณีศึกษาจังหวัดนครสวรรค์ แสดงให้เห็นว่าอุตสาหกรรมเคมีเพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นกลไก
สำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio-Economy) ซึ่งเป็นหนึ่งใน
ยุทธศาสตร์ที่สำคัญของประเทศไทยให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม เป็นการใช้ประโยชน์และ
สร้างมูลค่าเพิ่มจากอ้อยที่เป็นพืชเศรษฐกิจตามแนวนโยบาย รวมถึงการรักษาคุณภาพ
สิ่งแวดล้อมจากการผลิตและใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพ ส่งเสริมให้มีการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์
ชีวภาพในประเทศอย่างต่อเนื่อง อันจะส่งผลเชิงบวกต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และ
สิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ระดับชุมชนถึงระดับประเทศได้อย่างยั่งยืน และเป็นกรณีตัวอย่าง
(Showcase) กระตุ้นให้เกิดการลงทุนอุตสาหกรรมชีวภาพในลักษณะใกล้เคียงกันใน
อนาคต งานวิจัยนี้ได้จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่สำคัญและจำเป็นต่อการขับเคลื่อน
อุตสาหกรรมเคมีเพื่อสิ่งแวดล้อม ทั้งมาตรการส่งเสริมการลงทุนและมาตรการสร้างอุปสงค์
ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อให้เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio-Economy) เกิดขึ้นในประเทศไทยอย่าง
ยั่งยืน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-13