รูปแบบการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองที่ตื่นตัวตามระบอบประชาธิปไตย สำหรับประชาชนทุกช่วงวัยในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พสชนัน นิรมิตรไชย

คำสำคัญ:

กลไก/ความรู้ ความเข้าใจ/รูปแบบการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองที่ตื่นตัวตามระบอบประชาธิปไตย

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ความเข้าใจ กลไก และปัญหา/อุปสรรค เพื่อนำมาพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองที่ตื่นตัวตามระบอบประชาธิปไตยสำหรับประชาชนทุกช่วงวัยในกรุงเทพมหานคร  โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณ  ในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับนักวิชาการจำนวน 3 ท่าน และผู้รับผิดชอบโดยตรงจากภาครัฐจำนวน 2 ท่าน และจัดการสนทนากลุ่มกับประชาชนเบบี้บูมเมอร์จำนวน 5 คน  ประชาชนเจเนอเรชั่นเอ็กซ์จำนวน 5 คน  และประชาชนเจเนอเรชั่นวายจำนวน 5 คน  ที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองที่ตื่นตัวในกิจกรรม/โครงการต่าง ๆ  และใช้การวิจัยเชิงปริมาณด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากประชาชนทุกช่วงวัยจำนวน 471 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เส้นทางในการค้นหารูปแบบการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองที่ตื่นตัวตามระบอบประชาธิปไตยด้วยโปรแกรมลิสเรล

ผลการวิจัยพบว่าประชาชนในกรุงเทพมหานครมีความรู้ความเข้าใจต่อความเป็นพลเมืองที่ตื่นตัวตามระบอบประชาธิปไตยในระดับต่ำ กลไกที่จำเป็นต่อการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองที่ตื่นตัวในทุกช่วงวัยคือ  สถาบันหลักที่ทำหน้าที่ในการถ่ายทอดทางสังคม ได้แก่ สถาบันครอบครัว สถานศึกษา กฎหมาย เครือข่ายการทำงานขององค์การภาครัฐและเอกชน  อีกทั้งยังมีกลไกอื่น ๆ ที่มีความจำเป็นต่อการเสริมสร้างความเป็นพลเมือง   ที่ตื่นตัวในแต่ละช่วงวัย และปัญหา/อุปสรรคจึงมีความแตกต่างในแต่ละช่วงวัย รูปแบบเชิงสมมติฐานที่มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์  ตัวบ่งชี้รวมในโมเดลมีอิทธิพลซึ่งกันและกันอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ  .01  

 ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งนี้คือ หน่วยงานภาครัฐควรปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาทั้งในและนอกระบบ สถาบันการศึกษาอาจจะจัดการศึกษาผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ โดยส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้าไปแก้ปัญหาในชุมชน หน่วยงานภาครัฐควรประชาสัมพันธ์สื่อสารข้อมูลกับประชาชนอย่างถูกต้อง ผ่านช่องทางการประชาสัมพันธ์ที่หลากหลายและสามารถเข้าถึงได้ทุกช่วงวัย หน่วยงานภาครัฐต้องเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงเครือข่ายในพื้นที่เพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองที่ตื่นตัว โดยสนับสนุนการทำงานร่วมกันของเครือข่ายและภาคส่วนต่าง ๆ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงชุมชนอาจสร้างความร่วมมือกับสถานที่ทำงานให้ดำเนินการจัดกิจกรรมเพื่อปลูกฝังความเป็นพลเมืองที่ตื่นตัว

References

สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2559). โมเดลประเทศไทย 4.0 ผลึกความคิด. หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ. สืบค้นวันที่ 12 ธันวาคม 2559 จาก http://www.thansettakij.com/2015/08/31/9309
พสชนัน นิรมิตรไชยนนท์ และอริศรา เล็กสรรเสริญ. การฟูมฟักผู้นำรุ่นต่อไปเพื่อขับเคลื่อนอนาคตของประเทศไทยด้วยภาวะผู้นำกระบวนทัศน์ใหม่. วารสารสหศาสตร์. 16 (2), มกราคม- ธันวาคม 2559. หน้า 5-31.
กุณฑิกา พัชรชานนท์ และบัลลังก์ โรหิตเสถียร. (2557). ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 148/2557: การชูหลักสูตรประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง เพิ่มสำนึกรักชาติ. สืบค้นวันที่ 12 ธันวาคม 2559 จาก http://www.moe.go.th/websm/2014/jun/148.html

งามตา วนินทานนท์. เอกสารคำสอนวิชา วป 581 การถ่ายทอดทางสังคมกับพัฒนาการของมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2545.
ปริญญา เทวานฤมิตรกุล. (2555). การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง (Civic Education): พัฒนาการ
เมืองไทยโดยสร้างประชาธิปไตยที่คน. (เอกสารประกอบการบรรยายการประชุม
คณะอนุกรรมการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของรัฐสภา และเสริมสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยครั้งที่ 2/2555 11 ธันวาคม 2555).
ฤๅชุตา เทพยากุล. การศึกษาวิชาความเป็นพลเมือง (Citizenship Education). วารสารเรียนรู้ประชาธิปไตย. 3 (9), มกราคม-มีนาคม 2554. หน้า 3.
ศรัณยุ หมั้นทรัพย์. (2550). การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง: ฐานรากของการเมืองภาคพลเมือง.
วารสารสถาบันพระปกเกล้า. 6 (2):, เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม. หน้า 101-115.
สถาบันพระปกเกล้า. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 13 ประจำปี 2554 เล่ม 2 ความเป็นพลเมืองกับอนาคตประชาธิปไตยไทย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า, 2555.
Alsop, R. The Trophy Kids Grown Up: How the Millennial Generation Is Shaking Up the Workplace. San Francisco: Jossey-Bass. Better, 2008.
Berns, R.M. Child, Family, School, Community: Socialization and Support. Belmont, CA: Thompson Higher Education, 2007.
Cogan, J., and Derricott, R.. Citizenship for the 21st Century: An International
Perspective on Education. London: Kogan Page, 1998.
Greenberg, E. Generation WE. Emeryville, CA: Pachatusan, 2008.
Magnusson, D., & Endler, N. (1977). Personality at the crossroads: Current issues in interactional psychology. Hillsdale, N.J.: Erlbaum.
PWC. (2013). PwC’s NextGen: A global generational study. Retrieved December 11, 2016 from http://www.pwc.com/en_GX/gx/hr-management-services/pdf/pwc-nextgen-study-2013.pdf.
Westheimer, J. and Kahne, J. What Kind of Citizen: The Politics of Educating for Democracy. American Educa- tional Research Journal .41 (2), summer 2004. pp. 237-269.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-13