แนวโน้มภัยคุกคามด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของกองทัพไทย
คำสำคัญ:
ภัยคุกคาม, เทคโนโลยีสารสนเทศบทคัดย่อ
ปัจจุบันนี้เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทอย่างกว้างขวางในทุกวงการ และเทคโนโลยีสารสนเทศกลายเป็นเครื่องมือสำคัญของการทำงานทุกด้าน นับตั้งแต่ทางด้านการทหารและความมั่นคง ตลอดจนด้านการเมืองและราชการ จึงทำให้แนวคิดด้านยุทธศาสตร์และยุทธวิธีทางทหารและความมั่นคงแบบเดิมนั้นอาจจะไม่สามารถนำมาใช้ต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต เพราะรูปแบบภัยคุกคามมีการเปลี่ยนแปลงไป เช่น การใช้อินเทอร์เน็ตโจมตีระบบสารสนเทศขององค์กรภาครัฐ ไปจนถึงการใช้อินเทอร์เน็ตปล่อยข่าวโจมตีรัฐบาล จึงทำให้เกิดภัยคุกคามใหม่ที่เรียกว่า “การปฏิบัติการข่าวสาร” หรือ “Information Operations” ซึ่งถือได้ว่าเป็นภัยคุกคามรูปแบบใหม่ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและการเชื่อมต่อของโลกที่ไม่มีพรมแดน
ผลการศึกษาพบว่าภัยคุกคามนั้นเกิดได้จาก 2 แหล่ง แหล่งแรกคือการโจมตีจากภายนอก จะโจมตีผ่านเครือข่ายภายนอกที่เชื่อมต่อ ซึ่งจะต้องผ่านระบบป้องกัน หากระบบป้องกันมีประสิทธิภาพเพียงพอ จะสามารถป้องกันการโจมตีนั้นได้ แต่หากการป้องกันไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอจะทำให้สามารถโจมตีได้ถึงระบบงาน และมีผลกระทบต่อการทำงานในที่สุด ภัยคุกคามอีกแหล่งหนึ่งคือการโจมตีจากภายใน จะเห็นได้ว่าการโจมตีจากภายในนั้นอาจจะโจมตีจากภายในระบบป้องกันหรือภายในระบบงานที่อยู่หลังระบบป้องกัน จึงทำให้สามารถทำการโจมตีได้ง่าย การโจมตีชนิดนี้เป็นอันตรายมาก และป้องกันได้ยาก เนื่องจากเป็นการโจมตีที่มาจากบุคคลภายในหน่วยงาน
References
พันเอก ฤทธี อินทราวุธ, รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีทางทหาร. แนวทางการพัฒนา IT ของกองทัพ เพื่อรองรับประชาคมอาเซียน
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อเขียน หรือความคิดเห็นในนิตยสารนี้เป็นของผู้เขียน ไม่ผูกพันกับวิทยาลัย ป้องกันราชอาณาจักรและทางราชการแต่อย่างใด