แนวทางการกำหนดยุทธศาสตร์ของประเทศไทยต่อผลกระทบของความสัมพันธ์ ด้านการทหารระหว่างสหรัฐอเมริกากับสาธารณรัฐประชาชนจีน

ผู้แต่ง

  • nuchit sriboonsong ndc

คำสำคัญ:

ความสัมพันธ์แบบหลายขั้วอำนาจ, ความสัมพันธ์ด้านการทหาร, ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ, การทูตแบบรอบทิศทาง, ความร่วมมือแบบศูนย์กลาง, ความร่วมมือแบบเชิงรุก, ความร่วมมือแบบทางเลือกใหม่, ความร่วมมือแบบประนีประนอม, ความร่วมมือแบบปันส่วน, ความร่วมมือแบบสมดุล, ความร่วมมือ แบบมีเอกภาพ และความร่วมมือแบบเกาะติด

บทคัดย่อ

การแข่งขันกันทางยุทธศาสตร์เพื่อขยายอิทธิพลระหว่างสหรัฐอเมริกาและสาธารณรัฐประชาชนจีน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และด้านการทหาร เพื่อช่วงชิงอิทธิพลและบทบาทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่งผลให้ระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเปลี่ยนแปลงไปสู่ความสัมพันธ์แบบหลายขั้วอำนาจ (Multi-Polar) ซึ่งความเสี่ยงของความขัดแย้งระหว่างประเทศอาจเพิ่มมากขึ้น หากเกิดความไม่สมดุลในระเบียบความมั่นคงโลก จึงส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ด้านการทหารต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศไทยทั้งเชิงบวกและเชิงลบ คือเป็นทั้งโอกาสและความท้าทายของประเทศไทยที่จะแสวงประโยชน์จากประเทศมหาอำนาจ ดังนั้น งานวิจัยชิ้นนี้จึงมุ่งศึกษาสถานการณ์ด้านความมั่นคง รวมทั้งยุทธศาสตร์และนโยบายที่สำคัญของสหรัฐอเมริกาและสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศไทย เพื่อกำหนดแนวทางการกำหนดยุทธศาสตร์ของประเทศไทยต่อผลกระทบของความสัมพันธ์ด้านการทหารระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกากับสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยผลการวิจัยได้เสนอแนวทาง
การกำหนดยุทธศาสตร์ของประเทศไทยฯ ซึ่งประเทศไทยควรติดตามความคืบหน้าและประเมินผลกระทบการดำเนินงานอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งดำเนินนโยบายด้านการต่างประเทศของประเทศไทยคู่ขนานไปกับการผลักดันอาเซียน โดยใช้การทูตแบบรอบทิศทาง (Omni - directional Diplomacy) และการดำเนินยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านการทหารควบคู่กันไป โดยมีเป้าหมายให้ประเทศไทยในอีก ๒๐ ปีข้างหน้า เป็นประเทศที่มีอำนาจในระดับกลาง (Middle Power) และมีผลสัมฤทธิ์ที่มีความเป็นรูปธรรม โดยได้กำหนดยุทธศาสตร์ของประเทศไทยต่อผลกระทบของความสัมพันธ์ด้านการทหารระหว่างสหรัฐอเมริกากับสาธารณรัฐประชาชนจีนที่สำคัญ จำนวน ๘ ยุทธศาสตร์ ดังนี้ ๑) ยุทธศาสตร์การสร้างความร่วมมือแบบศูนย์กลาง (Centrality Cooperation Strategy) ๒) ยุทธศาสตร์ความร่วมมือแบบเชิงรุก (Offensive Cooperation Strategy)
๓) ยุทธศาสตร์ความร่วมมือแบบทางเลือกใหม่ (New Options Cooperation Strategy) ๔) ยุทธศาสตร์ความร่วมมือแบบประนีประนอม (Compromise Cooperation Strategy) ๕) ยุทธศาสตร์ความร่วมมือแบบปันส่วน (Sharing Cooperation Strategy) ๖) ยุทธศาสตร์ความร่วมมือแบบสมดุล (Balancing Cooperation Strategy) ๗) ยุทธศาสตร์ความร่วมมือแบบมีเอกภาพ (Unity Cooperation Strategy) และ
๘) ยุทธศาสตร์ความร่วมมือแบบเกาะติด (Sticking Cooperation Strategy)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-30