การพัฒนาแหล่งน้ำตามศักยภาพลุ่มน้ำชีตอนบน จังหวัดชัยภูมิ ตามแผนยุทธศาสตร์กรมชลประทาน 20 ปี

ผู้แต่ง

  • ประพิศ จันทร์มา กรมชลประทาน

คำสำคัญ:

การพัฒนาแหล่งน้ำ, ศักยภาพลุ่มน้ำชีตอนบน, แผนยุทธศาสตร์กรมชลประทาน 20 ปี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)  มุ่งศึกษาปรากฏการทางสังคมที่สะท้อนความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในการศึกษาเรื่อง “การพัฒนาแหล่งน้ำตามศักยภาพลุ่มน้ำชีตอนบน จังหวัดชัยภูมิ ตามแผนยุทธศาสตร์กรมชลประทาน 20 ปี” โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาแหล่งน้ำตามแผนยุทธศาสตร์กรมชลประทาน 20 ปี  2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อกระบวนการพัฒนาศักยภาพลุ่มน้ำชีตอนบน จังหวัดชัยภูมิ ตามแผนยุทธศาสตร์กรมชลประทาน 20 ปี และ 3) เพื่อหาแนวทางในการขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาศักยภาพลุ่มน้ำชีตอนบน จังหวัดชัยภูมิ ตามแผนยุทธศาสตร์กรมชลประทาน 20 ปี โดยการใช้แบบสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้าง โดยมีกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 150 ตัวอย่าง สรุปผลได้ ดังนี้

  1. กระบวนการพัฒนาศักยภาพลุ่มน้ำชีตอนบน ตามแผนยุทธศาสตร์กรมชลประทาน 20 ปี ประกอบด้วย 3 กระบวนการ ดังนี้ 1.1) กระบวนการด้านการพัฒนาแหล่งน้ำและเพิ่มพื้นที่ชลประทานตามศักยภาพลักษณะลุ่มน้ำ (Basin-based Approach) มีกลยุทธ์ในการดำเนินการให้เกิดสัมฤทธิผล รวม 5 กลยุทธ์  1.2) กระบวนการด้านการป้องกันความเสียหายและสนับสนุนการบรรเทาภัยอันเกิดจากน้ำ มีกลยุทธ์ในการดำเนินการให้เกิดสัมฤทธิผล รวม 4 กลยุทธ์ และ 1.3)  กระบวน การด้านการเสริมอำนาจประชาชนในระดับพื้นที่ (Empowering) การสร้างเครือข่าย และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในงานพัฒนาแหล่งน้ำ (Networking Collaboration Participation) มีกลยุทธ์ให้เกิดสัมฤทธิผล รวม 3 กลยุทธ์
  2. ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อกระบวนการพัฒนาศักยภาพลุ่มน้ำชีตอนบน จังหวัดชัยภูมิตามแผนยุทธศาสตร์กรมชลประทาน 20 ปี ผู้วิจัยได้กำหนดปัจจัยที่มีผลกระทบต่อกระบวนการพัฒนาไว้ 6 ปัจจัย จากการวิจัยพบว่าปัจจัยที่มีผลกระทบเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านการเมือง ด้านวัฒนธรรม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านกฎระเบียบ/ข้อบังคับ
  3. แนวทางในการขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาศักยภาพลุ่มน้ำชีตอนบน จังหวัดชัยภูมิ ตามแผนยุทธศาสตร์กรมชลประทาน 20 ปี ผู้วิจัยได้กำหนดแนวทางในการขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาไว้ 7 ด้าน จากการวิจับพบว่าแนวทางการขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาเรียงลำดับความสำคัญจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านแผนกลยุทธ์ ด้านโครงสร้างองค์กร ด้านระบบการทำงาน ด้านวัฒนธรรมองค์กร ด้านบุคลากร ด้านทักษะ และด้านสร้างความคุ้มค่า ซึ่งแต่ละด้านส่งผลสำเร็จต่อแนวทางในการพัฒนาในระดับมาก

 ผลที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยเห็นว่าควรนำรูปแบบการวิจัยนี้ ไปใช้ในการศึกษากับลุ่มน้ำอื่น ที่ยังไม่มีผลการศึกษา ต่อไป และมีข้อเสนอแนะระดับนโยบาย ขอให้ทุกภาคส่วนมุ่งแก้ไขปัญหาร่วมกัน เพื่อช่วยผลักดัน ขับเคลื่อน ภารกิจของประเทศด้านความมั่นคงด้านน้ำ ให้ตอบสนองนโยบายของรัฐบาลร่วมกันโดยเร็ว อาทิ แก้ไขปัญหาด้านการขออนุญาตใช้พื้นที่ ปัญหาด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อม ในการก่อสร้างโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความรวดเร็ว ในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับประชาชน ต่อไป

References

กรมชลประทาน.ยุทธศาสตร์กรมชลประทาน 20 ปี (พ.ศ.2560 – 2579). 2560.
กองพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง กรมชลประทาน. โครงการตามแผนงานปี 2561-2562. 2561.
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.การแบ่งส่วนราชการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ.2561.
สำนักพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ กรมชลประทาน. แผนงานและโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่สำคัญ. 2561.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-31