การใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในการจำแนกเป้าหมาย เพื่อนำเข้าระบบควบคุมบังคับบัญชา กรณีศึกษาชุดต้นแบบทางยุทธวิธี

ผู้แต่ง

  • Chokchai Polsamak TPL

คำสำคัญ:

เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์, การจำแนกเป้าหมาย, ระบบควบคุมบังคับบัญชา, ชุดต้นแบบทางยุทธวิธี

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เพื่อนำเข้าระบบควบคุมบังคับบัญชา กรณีศึกษา ชุดต้นแบบทางยุทธวิธี” เป็นการศึกษาหลักการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และนวัตกรรม ในการถ่ายทอดแนวความคิดไปสู่การปฏิบัติจากหลักการอำนวยการยุทธ การข่าววงรอบข่าวกรอง การปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (NCO) การปฏิบัติการทางยุทธวิธี (TDL) เครือข่ายอินเตอร์เน็ตสรรพสิ่ง (IoT) สำหรับการสร้างต้นแบบทางยุทธวิธี (สมมุติฐาน) และความคิดเห็นจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ทรงคุณวุฒิ 4 ด้าน(ระดับสูง, ด้านยุทธการ, การสื่อสาร, การศึกษา) ในการหาความเป็นไปได้หากกองทัพจะผลิตอุปกรณ์ใช้งานภายใต้ความร่วมมือ และการสนับสนุนจากหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน

                ผลการทดสอบสมมุติฐาน “ชุดต้นแบบทางยุทธวิธี” สามารถสรุปได้ว่ามีความเป็นไปได้ในการนำเข้าข้อมูลที่รับจากการประมวลผลระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อประยุกต์ใช้บนระบบอำนวยการยุทธของระบบควบคุมบังคับบัญชา  โดยผลการทดสอบผ่านต้นแบบทางยุทธวิธีสะท้อนถึงหลักการดำเนินการวิจัย แนวทางการบูรณาการระบบ ทักษะองค์ความรู้ ไปจนถึงข้อจำกัดใน การปฏิบัติการทางด้านยุทธวิธี ยุทธการ และยุทธศาสตร์  การใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในกองทัพไทย จำเป็นต้องมีการพัฒนาบูรณาการระบบ และการแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วม เพื่อประยุกต์ใช้ร่วมกันระหว่างหน่วยงานภายใต้การพึ่งพาตนเองอย่างเหมาะสม

References

กฎหมาย นโยบาย ระเบียบ
“แผนแนวทาง (Roadmap) การบูรณาการระบบควบคุมบังคับบัญชากองทัพไทย ปี 2557 – 2565”.
“แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กองทัพไทย และกองบัญชาการกองทัพไทย พ.ศ.
2557-2561”.
“ยุทธศาสตร์กองทัพอากาศ 20 ปี (พ.ศ.2560 – 2579) ฉบับเผยแพร่.
“ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561 – 2580”, ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 135, 13 ตุลาคม 2561.
วิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัย เอกสารวิจัยส่วนบุคคล
บงการ หอมนาน. “ระบบตรวจจับวัตถุชาญฉลาดผ่านโครงข่ายพื้นที่ท้องถิ่นไร้สายโดยใช้ปัญญาประดิษฐ์
และกรรมวิธีสัญญาณดิจิทัล : ขั้นตอนวิธีดิจิทัล”. รายงานวิจัย, ภาควิชาวิศวกรรม
โทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2551.

ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ประเด็นยุทธศาสตร์ ดิจิทัลไทยแลนด์.กลุ่มสารสนเทศด้านเศรษฐกิจ. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก :
http://service.nic.go.th/strategy.php?file=strategy/policy-39, 2563.
ฤทธี อินทราวุธ, พันเอก. “กองทัพไทยกับการสงครามโดยใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (Thai Armed
Force and Network Centric Warfare”. (ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก : https://www.
E-Leader by Yaya, 2563.
สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ. “รู้จักกับอากาศยานไร้คนขับ หรือยูเอวี”.เอกสารวิเคราะห์เทคโนโลยี
ป้องกันประเทศ: (Unmanned Aerial Vehicle : UAV), (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก :
https://www.dti.or.th/page_bx.php?cid=24&cno=43082554.
อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์. “10 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ Artificial Intelligence และ Big Data ในประเทศไทย”.
(ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : https://mgronline.com/daily/detail/9620000082793,
2563.
“AI, Machine Learning และ Deep Learning เกี่ยวข้องกันอย่างไร. ThAIKeras .com by The Neural
Engineer”. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : https://www. Thaikeras .com/2018/ai-ml-dl-relationship/, 2563.
“9 ประโยชน์จาก AI เทคโนโลยี ที่ถูกนำมาใช้จริงแล้ว”. (ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก : https://www.
theeleader.com . 2563.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-11