เพชรบุรีเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก
คำสำคัญ:
เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์บทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งเสนอการได้เป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ (Creative Cities Network) ด้านอาหาร (Gastronomy) ของจังหวัดเพชรบุรี ตามหลักเกณฑ์ขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNESCO
จังหวัดเพชรบุรีตั้งอยู่ในภูมิศาสตร์ที่มีทั้งภูเขา ทะเล และที่ราบลุ่มสำหรับทำการเกษตรจึงมีวัตถุดิบในการประกอบอาหารที่หลากหลาย นอกจากนี้ยังได้รับการขนานนามว่าเป็นเมืองแห่งรสชาติ 3 รสชาติ ได้แก่ รสเค็มจากแหล่งผลิตเกลือสมุทรที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย รสหวาน
จากน้ำตาลโตนดที่มีค่าดัชนีความหวานต่ำและรสชาติหวานหอมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะพื้นที่
ไม่เหมือนใคร และรสเปรี้ยวจากมะนาวแป้นรำไพ ที่เป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications หรือ GI) มีลักษณะลูกกลมแป้น ผิวบาง น้ำมาก รสชาติเปรี้ยวและมีกลิ่นหอม ซึ่งทั้งเกลือ น้ำตาลโตนด และมะนาว เป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารที่ขึ้นชื่อและเป็นเอกลักษณ์ของเพชรบุรี
การสมัครเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของ UNESCO มีการดำเนินการผ่านกลไก
ของการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน โดยเริ่มจากการวิเคราะห์บริบท ความพร้อม และศักยภาพของเมืองการให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระดับต่าง ๆ ของจังหวัดเข้ามามีร่วมในการแสดงความคิดเห็น การจัดกิจกรรม เพื่อสนับสนุนการเป็นเมืองสร้างสรรค์ มีการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ
ต่อประชาชนในจังหวัด มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเมืองที่ได้รับการคัดเลือกเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของ UNESCO โดยเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา เพชรบุรีเป็น 1 ใน 13 เมืองทั่วโลก
ที่ได้รับการคัดเลือกจาก UNESCO ให้เป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร (Gastronomy)
การได้รับคัดเลือกเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์นำมาซึ่งความภาคภูมิใจของคนเพชรบุรี ส่งผลดีต่อ
การสร้างเศรษฐกิจของจังหวัดและประเทศชาติโดยรวม
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อเขียน หรือความคิดเห็นในนิตยสารนี้เป็นของผู้เขียน ไม่ผูกพันกับวิทยาลัย ป้องกันราชอาณาจักรและทางราชการแต่อย่างใด