แนวทางการคุ้มครองสิทธิครอบครัวคู่ชีวิตเพศเดียวกัน
คำสำคัญ:
การคุ้มครองสิทธิครอบครัวคู่ชีวิตเพศเดียวกันบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ “แนวทางการคุ้มครองสิทธิครอบครัวคู่ชีวิตเพศเดียวกัน” (Guidelines for the protection of family rights of same – sex couples) พบว่าประเทศไทยได้ลงนามให้สัตยาบันและถือปฏิบัติตามอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination against Women : CEDAW) และปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่ยืนยันหลักการสำคัญว่า “การเลือกปฏิบัติเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้” ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ได้ให้การคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับการคุ้มครอง และพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดห้ามทุกองค์กรไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชนจะออกกฎหมาย กฎ ระเบียบ คำสั่ง ข้อบังคับ หรือการกระทำใดๆ ที่เป็นการแบ่งแยก กีดกัน หรือจำกัดสิทธิประโยชน์ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม โดยปราศจากความชอบธรรม เพราะเหตุที่บุคคลนั้นเป็นเพศชายหรือหญิง หรือมีการแสดงออกที่แตกต่างจากเพศโดยกำเนิด ในส่วนของต่างประเทศมีจำนวนมากกว่า ๒๘ ประเทศ ได้ออกกฎหมายคุ้มครองสิทธิของคู่รักเพศเดียวกัน โดยอนุญาตให้เพศเดียวกันแต่งงานกันได้ “แต่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายหรือมาตรการใดในการคุ้มครองสิทธิครอบครัวคู่ชีวิตเพศเดียวกัน ให้ได้รับการรับรองและคุ้มครองสิทธิของบุคคลและสิทธิในครอบครัวเท่าเทียมกับครอบครัวของชายหญิงทั่วไป” ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะมีความพยายามในการคุ้มครองสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์และมีผู้ที่ได้รับการผ่าตัดแปลงเพศมาแล้วตั้งแต่อดีตกว่า ๕๐ ปี อีกทั้งมีการร้องขอให้ภาครัฐรับรองสถานะเพศให้ตรงตามเพศที่ได้รับการผ่าตัดแปลงเพศและมีครอบครัวคู่ชีวิตเพศเดียวกันอยู่กินกันฉันสามีภริยาเป็นจำนวนมากก็ตาม อาจส่งผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากประเทศไทยไม่มีกฎหมายหรือมาตรการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ ในประเด็นปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน และการไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ เท่ากับว่าไม่สามารถขับเคลื่อนภารกิจการลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเสมอภาคทางเพศ ให้บรรลุผลที่เป็นการยุติการเลือกปฏิบัติทุกรูปแบบตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals :SDGs) โดยเฉพาะเป้าหมายที่ ๕ การบรรลุความเสมอภาคระหว่างเพศ ตลอดจนส่งผลกระทบต่อยุทธศาสตร์ชาติที่ไม่สามารถบรรลุผลด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ในประเด็นการส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศ
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อเขียน หรือความคิดเห็นในนิตยสารนี้เป็นของผู้เขียน ไม่ผูกพันกับวิทยาลัย ป้องกันราชอาณาจักรและทางราชการแต่อย่างใด