การบริหารงบประมาณด้านสวัสดิการรักษาพยาบาล ของข้าราชการให้เกิดความยั่งยืนทางการคลัง

ผู้แต่ง

  • Wilawan Payanoi -

คำสำคัญ:

การแพทย์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาวิเคราะห์การดำเนินการกำหนดมาตรการ กลไก ในการกับดูแลด้านการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการรักษาพยาบาลของกรมบัญชีกลางที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นความมีประสิทธิภาพในการดำเนินการ ปัญหา อุปสรรค รวมถึงข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนได้เสียในกลุ่มต่าง ๆ 2. เพื่อศึกษา วิเคราะห์ รูปแบบในการบริหารจัดการงบประมาณ ศึกษารูปแบบการจ่ายเงินชดเชยค่ารักษาพยาบาล และมุมมองของหน่วยบริการด้านสาธารณสุขในการบริหารจัดการเงินชดเชยค่ารักษาพยาบาลที่ได้รับจากกองทุนสุขภาพของรัฐในประเทศไทย รวมถึงศึกษา ปัญหา อุปสรรค ข้อขัดข้องในการเบิกเงินชดเชยค่ารักษาพยาบาล มีขอบเขตในการศึกษาการศึกษา วิเคราะห์ แนวทางหรือรูปแบบการเบิกเงินชดเชยค่ารักษาพยาบาล โดยไม่ลงถึงในรายละเอียดมาตรฐานการรักษาพยาบาล ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ ร่วมกับการใช้การวิจัยเชิงพรรณนา  จากการวิจัยพบว่า ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการเป็นระบบสวัสดิการระบบแรกที่รัฐบาลได้จัดให้มีขึ้น โดยมีเจตนารมณ์สำคัญเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของผู้มีสิทธิ (ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ) และบุคคลในครอบครัว เมื่อยามเจ็บป่วย เพื่อมิให้เกิดความกังวลใจในระหว่างการปฏิบัติงานให้กับทางราชการโดยมีข้อเสนอแนะจากการทำจัดเอกสารวิจัยฉบับนี้ คือ รัฐบาล ควรให้ความสำคัญต่อนโยบายด้านสาธารณสุขในภาพรวมของประเทศ ได้แก่ การจัดสรรงบประมาณและทรัพยากร รวมถึงการให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพที่ถูกต้อง อย่างทั่วถึง เพื่อให้คนไทยห่างไกลจากโรคและสามารถปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสมเมื่อเจ็บป่วย และ หน่วยงานด้านสาธารณสุขของประเทศ สร้างความรับรู้ สื่อสารความเข้าใจที่ถูกต้องในด้านคุณภาพการรักษาด้วยยาสามัญให้แก่ประชาชน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-25