การบูรณาการ : การจัดการศพสนามทางทหารสู่การช่วยเหลือประชาชนในเหตุภัยพิบัติรุนแรง

ผู้แต่ง

  • Pisit Pasuk -

คำสำคัญ:

การจัดการศพสนาม, ผู้เสียชีวิต, ภัยพิบัติ

บทคัดย่อ

สถานการณ์ในปัจจุบันผู้คนทั่วโลกกำลังเผชิญกับความเสี่ยงจากภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้น อาทิเช่น ภัยพิบัติจากแผ่นดินไหว อุทกภัย อัคคีภัย ดินโคลนถล่ม พื้นที่สารเคมีรั่วไหล สึนามิ (tsunami) เป็นต้น เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะส่งผลให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน โดยเฉพาะประชานที่เสียชีวิตในพื้นที่เกิดภัยพิบัติ จากบทเรียนในเหตุการณ์ "สึนามิ" คลื่นยักษ์ถล่มประเทศไทยเมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๔๗ พบว่า มีผู้เสียชีวิตประมาณ ๕,๔๐๐ คน การจัดการกับศพผู้เสียชีวิตจำนวนมากนี้เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ส่วนสำคัญคือหน่วยงานที่ต้องรับผิดชอบเรื่องการจัดการศพของผู้เสียชีวิตในสถานการณ์วิกฤตินี้ ควรมีรูปแบบการปฏิบัติที่ชัดเจน มีการบริหารจัดการที่ดี และมีความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำหรับหน่วยงานในกองทัพเอง หน่วยเหล่าที่มีบทบาทเรื่องการจัดการศพ คือ เหล่าทหารพลาธิการ ซึ่งจะดำเนินการเฉพาะ ศพทหารที่เสียชีวิตระหว่างการสู้รบในยามสงครามเท่านั้น หากนำมาพัฒนาต่อยอดเพื่อใช้สำหรับดำเนินการต่อศพผู้เสียชีวิตจำนวนมากจากเหตุภัยพิบัติ การนำองค์ความรู้ในเรื่องการศพสนามของกองทัพมาพัฒนาเป็นแบบแผนหรือกำหนดเป็นแนวทางการปฏิบัติ ทั้งขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงาน และองค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำเป็นมาตรฐานร่วมกัน รวมไปถึงความร่วมมือกันระหว่างประเทศในการจัดการความเสี่ยงจากเหตุภัยพิบัติทั่วโลก จะสามารถคลี่คลายสถานการณ์อันเลวร้ายนี้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-25