แนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอายุวัฒน์เพื่อรองรับสังคมสูงวัย ของเกษตรกร

ผู้แต่ง

  • seksan chankwang -

คำสำคัญ:

เศรษฐกิจอายุวัฒน์, แนวทางการขับเคลื่อน, เกษตรกร

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ มุ่งศึกษาความต้องการ สถานการณ์ ปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพในปัจจุบัน ความพร้อม ข้อจำกัดเมื่อเข้าสู่สังคมสูงวัย รวมถึงแนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอายุวัฒน์ของเกษตรกร ใช้วิธีศึกษาเอกสารร่วมกับการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ 8 ท่าน และเกษตรกร อายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป 43 ราย พบว่า เศรษฐกิจอายุวัฒน์ หมายถึง ระบบเศรษฐกิจที่เอื้ออำนวยให้ผู้สูงอายุดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้นานที่สุดและพึ่งพิงผู้อื่นน้อยที่สุด เป็นกิจกรรมที่สามารถบริหารจัดการได้เอง มีคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น ให้ผลตอบแทนพอเลี้ยงชีพ เมื่อแบ่งความพร้อมในการเข้าสู่สังคมสูงวัย พบว่า มี 4 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มที่มีแผนหารายได้โดยไม่ต้องพึ่งพิง 2. กลุ่มที่มีแผนหารายได้แต่ยังต้องพึ่งพิง 3. กลุ่มที่ไม่มีแผนหารายได้แต่มีครอบครัวให้พึ่งพิง และ 4. กลุ่มที่ไม่มีแผนหารายได้และไม่มีบุคคลให้พึ่งพิง แต่ละกลุ่มต้องการความช่วยเหลือจากภาครัฐแตกต่างกัน แนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอายุวัฒน์ ต้องบูรณาการร่วมทั้งภาครัฐและเอกชนในระดับนโยบาย ชุมชน สังคม และครัวเรือน กลไกสำคัญ คือ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นและผู้นำในชุมชน รวมถึงการกำหนดนโยบายหรือมาตรการที่เหมาะสม เพื่อนำไปบริหารจัดการสังคมสูงวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ในอนาคต

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-23