แนวทางการพัฒนาแพลตฟอร์มโลกเสมือน (Metaverse) เพื่อยกระดับแหล่งเรียนรู้และการบริการแห่งอนาคต
คำสำคัญ:
จักรวาลนฤมิต, โลกเสมือน, การเรียนรู้ตลอดชีวิต, การเรียนรู้ตามอัธยาศัยบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้นำเสนอแนวทางการพัฒนาต้นแบบของ Metaverse เพื่อการเรียนรู้ตามอัธยาศัยและโอกาสในการต่อยอดสู่การบริการในอนาคต โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและประเมินความเหมาะสมในการสร้างประสบการณ์ในการเรียนรู้รูปแบบใหม่บนเทคโนโลยี Metaverse โดยเริ่มจากการทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะประเด็นด้านการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ตามยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือหลักในการเก็บข้อมูลปฐมภูมิ ผลจากการสัมภาษณ์จะนำมาวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ในการนำ Metaverse มาใช้เพื่อการเรียนรู้ตามอัธยาศัยใน ๓ ด้านได้แก่ ด้านกระบวนการเรียนรู้ ด้านเทคโนโลยี และด้านเศรษฐศาสตร์ ซึ่งได้นำไปใช้ประกอบการสร้างต้นแบบ Metaverse โดยใช้ตัวอย่างจากนิทรรศการ เจาะนวัตกรรมเกม ของพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ต้นแบบ Metaverse นี้ได้รับการประเมินเปรียบเทียบกับองค์ประกอบ ๕ ด้านของ General Learning Outcomes ซึ่งพบว่า มีศักยภาพและเหมาะสมในการเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มอบความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ ทักษะ ประสบการณ์และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เข้าเรียนได้ นอกจากนั้นยังมีโอกาสในการพัฒนาต่อยอดให้ Metaverse นี้เป็นแพลตฟอร์มเปิดระดับชาติ พร้อมทั้งขยายการให้บริการสู่การเป็นพื้นที่ในเชิงสังคมและพาณิชย์ต่อไป
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อเขียน หรือความคิดเห็นในนิตยสารนี้เป็นของผู้เขียน ไม่ผูกพันกับวิทยาลัย ป้องกันราชอาณาจักรและทางราชการแต่อย่างใด