ทิศทางความมั่นคงทางอวกาศของไทย
คำสำคัญ:
: ความมั่นคงทางอวกาศ, ทิศทางความมั่นคงทางอวกาศของไทยบทคัดย่อ
ความมั่นคงทางอวกาศเป็นพันธกิจสำคัญ ของทุกภาคส่วนในชาติ ซึ่งปัจจุบันกองทัพอากาศได้กำหนด ให้งานด้านกิจการอวกาศเป็นพันธกิจหลัก อย่างหนึ่งที่มีการพัฒนาศักยภาพเป็นกำลังทางอากาศของกองทัพอากาศไทย โดยทั่วไปกิจการอวกาศ ผู้เขียนขอแบ่งเป็น 4 กลุ่มงาน คือ กลุ่มงานด้านดาวเทียมเพื่อการสื่อสาร กลุ่มงานระบบดาวเทียมเพื่อสำรวจทรัพยากรโดยความรับผิดชอบของกระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีอวกาศ และภูมิสารสนเทศ หรือ Gisda กลุ่มงานดาวเทียมด้านเศรษฐกิจและการวิจัยอวกาศที่ดำเนินการในด้านการให้บริการ โทรศัพท์ สัญญาณระบบกระจายเสียง ภาพ สื่อ วิทยุโทรทัศน์ และอินเตอร์เน็ต รวมถึงกลุ่มงานด้านกิจการอวกาศเพื่อความมั่นคง ซึ่งกองทัพอากาศ โดยศูนย์ปฏิบัติการอวกาศเป็นหน่วยรับผิดชอบหลัก ปฏิบัติหน้าที่รักษาผลประโยชน์แห่งชาติในห้วงอวกาศ และความร่วมมือด้านความมั่นคงทางอวกาศมีภารกิจงานสำคัญ 3 ประการ คือ งานการเฝ้าระวังทางอวกาศเป็นภารกิจการปฏิบัติการค้นหา ติดตาม พิสูจน์ทราบ ภัยคุกคามจากอวกาศ งานภารกิจการการข่าวกรอง โดยการเฝ้าตรวจการลาดตระเวนทางอวกาศ
มีระบบดาวเทียมปฏิบัติการถ่ายภาพพื้นโลกด้วยกล้องที่มีความละเอียดสูง เข้าถึงพื้นที่ปฏิบัติการได้ทั่วโลก งานระบบกรรมวิธีข้อมูลทางอวกาศ ซึ่งเป็นระบบการแปลความ ภาพถ่าย จากดาวเทียม
การปรับข้อมูล ภาพ การจำแนกประเภทของข้อมูล ซึ่งศูนย์ปฏิบัติการอวกาศ กองทัพอากาศเป็นผู้ดำเนินการรวมถึงการสร้างองค์ความรู้การแปลความภาพถ่าย ในการพัฒนาประเทศด้วย
ผู้เขียนได้ศึกษาระบบงานการเฝ้าระวังทางอวกาศของประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และประเทศญี่ปุ่น โดยมีสาระสำคัญ ที่ทบทวน วรรณกรรม คือ ระบบปฏิบัติการ การแจ้งเตือนภัยคุกคามระบบอุปกรณ์การตรวจจับและ เรดาร์หลากหลายรูปแบบ เทคโนโลยี รวมถึง อุปกรณ์การเฝ้าระวังทางอวกาศ
ทิศทางความมั่นคงทางอวกาศของไทยมีแนวทางการดำเนินงานสำคัญ คือ ด้านการจัดการ 5 ประเด็น คือ 1) การวิเคราะห์องค์ประกอบกิจการอวกาศอย่างครบถ้วน 2) การพัฒนาแต่ละองค์ประกอบให้เข้มแข็ง 3) การสร้างความเป็นมาตรฐานและ เสถียรภาพแต่ละปัจจัย 4) การมีระบบการจัดการที่สมบูรณ์ 5) ระบบการดำเนินงานแบบครบวงจร โดยมี 3 ห้วงเวลาสำคัญใน 3 ขั้นตอนดำเนินการ คือ ขั้นตอนการศึกษาวิจัย ขั้นตอนการพัฒนาความพร้อมและ ขั้นตอนการประยุกต์ใช้งานกิจการด้านอวกาศ เพื่อความมั่นคงแห่งชาติของไทย
กล่าวโดยสรุปคือ กิจการอวกาศของไทยยังคงต้องใช้เวลาในการพัฒนาและดำเนินการทั้งในด้านกิจการทหาร และนอกภารกิจทางทหาร ซึ่ง ต้องมีทิศทางวิสัยทัศน์ ทิศทางเชิงนโยบาย ระบบการจัดการ องค์ความรู้ที่เข้มแข็งและกำลังคนที่ดี มีประสิทธิภาพ ร่วมดำเนินงานให้ระบบทิศทางความมั่นคงทางอวกาศของไทย มีความเป็นหนึ่งในอาเซียนต่อไป
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อเขียน หรือความคิดเห็นในนิตยสารนี้เป็นของผู้เขียน ไม่ผูกพันกับวิทยาลัย ป้องกันราชอาณาจักรและทางราชการแต่อย่างใด