ตัวชี้วัดการพัฒนาประเทศไทยด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมกรณีศึกษา : ทรัพย์สินทางปัญญา และ บทความวิจัยในฐานข้อมูลสากล

ผู้แต่ง

  • Phadungsak Rattanadecho -

คำสำคัญ:

ตัวชี้วัดการพัฒนา, วิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี, นวัตกรรม, ทรัพย์สินทางปัญญา, บทความวิจัย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานะของผลงานวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์บทความวิจัยเผยแพร่ในฐานข้อมูลสากลและสถานะการจดทรัพย์สินทางปัญญาประเภทต่าง ๆ ในประเทศไทยย้อนหลัง 10 ปี เพื่อประเมินถึงศักยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ และนำเสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพและต่อยอดผลงานวิจัยและทรัพย์สินทางปัญญาที่มีอยู่ เพื่อการเพิ่มศักยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ

                จากผลศึกษาพบว่า จำนวนสิทธิบัตรของคนไทยยังมีจำนวนน้อยอยู่มากทั้งเชิงปริมาณ (จำนวนการจดทะเบียน) และเชิงคุณภาพ (อัตราการนำไปใช้ประโยชน์) สิทธิบัตรที่จดทะเบียนในไทยส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดถือสิทธิ์โดยชาวต่างชาติ ส่วนสิทธิบัตรคนไทยที่จดทะเบียนแล้วในจำนวนมากยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ใด ๆ หรือยังไม่มีการดำเนินการในเชิงพาณิชย์ทำให้สิทธิบัตรของคนไทยที่มีจำนวนน้อยอยู่แล้วในเชิงปริมาณเมื่อเทียบกับต่างประเทศ ดังนั้นรูปแบบที่เหมาะสมและกลยุทธ์
ในการเพิ่มจำนวนสิทธิบัตรของคนไทยอย่างก้าวกระโดดได้แก่ 1. สามารถนำสิทธิบัตรมาใช้เป็นตัวชี้วัดหลักในระบบปิดทุนใช้ประกอบวิทยานิพนธ์สำหรับสำเร็จการศึกษาและใช้ประกอบการ
ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ ระบบ Fast Track หรือโครงการการเร่งรัดสิทธิบัตรมุ่งเป้า (Target Patent Fast-track) เพื่อพัฒนาเพิ่มช่องทางเร่งรัดให้อุตสาหกรรมเป้าหมายให้สามารถขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์สามารถดำเนินการจนสิ้นสุดกระบวนการได้ในเวลาอันรวดเร็วเช่น การส่งเสริมการยื่นสิทธิบัตรในองค์กร 2. การสนับสนุนให้วิสาหกิจและหน่วยงานภาคการศึกษาให้ความสำคัญกับงานวิจัยเชิงลึกซึ่งทำโดยทีมนักวิจัยที่มีความรู้ในระดับปริญญาเอกเพื่อให้ได้มาซึ่งองค์ความรู้ที่จะนำไปสู่การจดทะเบียนสิทธิบัตรที่มีคุณภาพสูงซึ่งมีแนวโน้มต่อยอดเป็นนวัตกรรมได้มากกว่า 3. การสร้างมืออาชีพด้านสิทธิบัตรในประเทศโดยส่งเสริมหลักสูตรอบรมเพื่อสร้างความเข้าใจในกฎหมาย กฎเกณฑ์ ค่าใช้จ่าย เพื่อให้มีบุคลากรในประเทศที่มีความชำนาญในกลุ่มคนไทยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่เข้าเงื่อนไขการขอจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์ และการสนับสนุนเงินรางวัลการจดสิทธิบัตรแก่บุคคลทั่วไปและบุคลากรทางการศึกษา โดยแนวทางการขยายผลสิทธิบัตรในเชิงพาณิชย์ได้อย่างรวดเร็วนั้น จากกรณีศึกษาในต่างประเทศจะต้องอาศัยความร่วมมือหรือสายสัมพันธ์กับบริษัทชั้นนำในประเทศหรือบริษัทข้ามชาติที่เป็นเจ้าของเทคโนโลยีและถือครองสิทธิบัตรจำนวนมากอยู่แล้ว
เข้ามาร่วมลงทุนในการวิจัยและพัฒนาซึ่งการเชื่อมโยงกันระหว่างผู้ผลิตนวัตกรรมและผู้นำนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-09