ยุทธศาสตร์และแนวทางปฏิรูปการศึกษาสู่การพัฒนาทรัพยากรบุคคลสำหรับยุคเศรษฐกิจและสังคม 5.0

ผู้แต่ง

  • ศุภชัย เจียรวนนท์ บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด

คำสำคัญ:

การปฏิรูปการศึกษา , การพัฒนาทรัพยากรบุคคล , ยุคเศรษฐกิจและสังคม 5.0 , การเปลี่ยนแปลงทางปัญญาที่ยั่งยืน

บทคัดย่อ

ประเทศไทยกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต และการดำเนินธุรกิจ ทำให้ทุกภาคส่วนจะต้องมีการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ โดยเฉพาะแผนการเตรียมความพร้อมด้านทรัพยากรบุคคล ซึ่งมีปัจจัยที่สำคัญคือ “การศึกษา” ที่ทุกภาคส่วนจะต้องให้ความสำคัญและร่วมแรงร่วมใจกันขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาที่ตอบโจทย์การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งนี้ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงในเชิงเศรษฐกิจมาตั้งแต่ยุค 1.0 ที่เป็นเรื่องเกษตรกรรม มาจนถึง 4.0 ซึ่งเป็นยุคของข้อมูลและมีความสำคัญต่อการเปลี่ยนผ่านสู่ยุค 5.0 ซึ่งขับเคลื่อนการพัฒนาด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล แต่ปัจจุบันระบบการศึกษาไทยยังอยู่ในยุค 2.0 ที่ครูยังเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ ยังขาดการส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ด้วยตัวเองอย่างเป็นระบบ ส่งผลต่อความพร้อมของทรัพยากรบุคคลในการเข้าสู่ตลาดแรงงานในอนาคต
ดังนั้น การจะเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย ควรมีการส่งเสริมให้เด็กไทยมีศักยภาพด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม และปัญญาประดิษฐ์ ควบคู่กับการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม พร้อมทั้งต่อยอดการศึกษาตลอดชีวิต บทความนี้จะนำเสนอยุทธศาสตร์และแนวทางการปฏิรูปการศึกษาสู่การพัฒนาทรัพยากรบุคคล สำหรับยุคเศรษฐกิจและสังคม 5.0 โดยนำเสนอเป็นโมเดลที่เรียกว่าการเปลี่ยนแปลงทางปัญญาที่ยั่งยืน เพื่อให้ประเทศไทยมีความพร้อมและสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก

References

ก.พ.ร. และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ, สํานักงาน. (2548). การจัดการความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ.

เฉิง เยี่ยน เดวิส, ผู้ร่วมก่อตั้งและเลขาธิการสภาเพื่อการศึกษาระดับโลก. (2565). “คำกล่าวเปิดงาน” ณ Forum for World Education 2022.

ธัญญารัตน์ ชื่นแสงจันทร์. (2559). การศึกษาเปรียบเทียบของประเทศไทยกับประเทศสิงคโปร์

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://singaporblog.files.wordpress.com/2017/05/e0b8a3e0b8b0e0b89ae0b89ae0b881e0b8b2e0b8a3e0b8a8e0b8b6e0b881e0b8a9e0b8b2e0b8aae0b8b4e0b887e0b884e0b982e0b89be0b8a3e0b98c.pdf.

ปองสิน วิเศษศิริ. (2550). การกระจายอำนาจทางการศึกษาของประเทศสหรัฐอเมริกา. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

วิจิตรา สีสด. (2561). การศึกษาเปรียบเทียบระบบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยของประเทศไทย และประเทศญี่ปุ่น. Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences. Vol.2 No.4 October-December 2018.

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักงาน. (2567). “ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์”. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: nscr.nesdc.go.th.

หลี่ เหรินเหลียง และสุพรรณี ไชยอำพร. (2561). การศึกษาเปรียบเทียบนโยบายพัฒนาการศึกษาระหว่างไทยและจีน คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ . (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: ThaiJohttps://so04.tci-thaijo.org.

แอนเดรียส ชไลเคอร์, ผู้อำนวยการฝ่ายการศึกษาและทักษะ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา. (2565). บรรยายเรื่อง “Learnings from OECD’s Data and Research” ณ Forum for World Education 2022.

Sophia Faridi. (2559). “13 เหตุผลที่ว่าทำไมประเทศฟินแลนด์ จึงมีระบบการศึกษาที่ดีและประสบความสำเร็จ!!?”. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://www.scholarship.in.th/13-finland-education-systems/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-17