แนวทางการนำเทคโนโลยี Digital Twin มาใช้เพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมของประเทศ

ผู้แต่ง

  • สุทธิศักดิ์ ตันตะโยธิน Deputy Secretary General of National Broadcasting and Telecommunications Commission

คำสำคัญ:

Digital Twin, โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล, ทรัพยากรโทรคมนาคม

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องนี้เกิดขึ้นเนื่องจากนโยบายขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่าง ๆ มีทิศทางมุ่งเน้นการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลให้เป็นรากฐานการพัฒนา โดยมีเทคโนโลยีใหม่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ซึ่ง Digital Twin เป็นเทคโนโลยีที่เกิดจากการหลอมรวมเทคโนโลยีใหม่จึงมีความน่าสนใจในแง่ของการนำมาประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนา ซึ่งการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาหลักการทำงานของ Digital Twin และแนวโน้มการประยุกต์ใช้ในต่างประเทศ (2) เพื่อวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค และปัจจัยสู่ความสำเร็จ และ (3) เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการส่งเสริมการใช้งานเพื่อยกระดับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม
ผลการวิจัยพบว่า Digital Twin ประกอบด้วย พื้นที่จริงที่มีวัตถุจริง พื้นที่เสมือนที่มีวัตถุเสมือน
ซึ่งเชื่อมโยงกับวัตถุในพื้นที่จริง และการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างพื้นที่จริงกับพื้นที่เสมือนให้ทำงานพร้อมกัน ซึ่งต่างประเทศมีแนวโน้มที่จะนำ Digital Twin มาพัฒนาเมืองและอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาภาพรวมทั้งระบบนิเวศ การพัฒนา Digital Twin ยังคงมีความท้าทายหลายประการ อาทิ
ด้านโครงสร้างพื้นฐานการสื่อสารความเร็วสูงยิ่งยวด และการขาดผู้เชี่ยวชาญ จึงต้องอาศัยการกำหนดนโยบายจากบนลงล่างและล่างขึ้นบน การพัฒนาแอปพลิเคชันที่มนุษย์เป็นศูนย์กลาง การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และการส่งเสริมนวัตกรรม เป็นปัจจัยสู่ความสำเร็จ
จากการศึกษาดังกล่าว มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านการจัดสรรทรัพยากรโทรคมนาคม
ที่รองรับการใช้งานที่หลากหลาย การส่งเสริมการขยายโครงข่ายโทรคมนาคมที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงอุปกรณ์ที่หลากหลายเพื่อรองรับการเชื่อมต่อ การส่งเสริมการจัดตั้ง Data Center ในประเทศ และการส่งเสริมการประสานความร่วมมือ เพื่อเติมเต็มระบบนิเวศของ Digital Twin ให้เติบโตอย่างสมบูรณ์

Author Biography

สุทธิศักดิ์ ตันตะโยธิน , Deputy Secretary General of National Broadcasting and Telecommunications Commission

ขอส่งบทความเบอร์ติดต่อ 

0816290009

References

Attaran, M. & Celik, B.G. (2023). Digital Twin: Benefits, use cases, challenges, and opportunities. Decision Analytics Journal, 6 (2023). (Online). Available : https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S277266222300005X.

Evans, N.D. (2022). Digital twins are primed to revolutionize the infrastructure industry. (Online). Available : https://www.cio.com/article/404679/digital-twins-are-primed-to-revolutionize-the-infrastructure-industry.html.

Greives, M. (2015). Digital Twin : Manufacturing excellence through virtual factory replication. (Online). Available : https://www.researchgate.net/publication/ 275211047_Digital_Twin_Manufacturing_Excellence_through_Virtual_Factory_Replication.

KPMG. (2018). The Changing Landscape of Disruptive Technologies: Tech disruptors outpace the competition. (Online). Available : https://assets.kpmg.com/ content/dam/kpmg/pl/pdf/2018/06/pl-The-Changing-Landscape-of-Disruptive- Technologies-2018.pdf.

Li, Q. (2564). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยการสร้างสรรค์นวัตกรรมจากงานประจำที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (รายงานวิจัยกองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วิทยาลัยนานาชาติ). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

Portulans Institute. (2023). Network Readiness Index 2023 Trust in a Network Society : A crisis of the digital age? (Online). Available : https://download.networkreadinessindex.org/reports/nri_2023.pdf.

Wang, Y., Su, Z., Guo, S., Dai, M., Luan, H. T., & Liu, Y. (2023). A Survey on Digital Twins: Architecture, Enabling Technologies, Security and Privacy, and Future Prospects. (Online). Available : http://doi.org/10.36227/techrxiv.2. 1972416.v1.

World Economic Forum. (2022). Digital Twin Cities : Framework and Global Practices. (Online). Available : https://www.weforum.org/reports/digital-twin-cities-framework-and-global-practices.

Zhu, Y. (2022). Shanghai harnessing 'digital twin' technology to improve city management. (Online). Available : https://www.shine.cn/news/metro/2202151932.

กสทช., สำนักงาน. (2564). รายงานผลการจัดให้มีโครงข่ายโทรคมนาคมเพื่อให้บริการโทรคมนาคม เคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications - IMT) ย่านความถี่ 2600 เมกะเฮิรตซ์ (ครบ 1 ปี).

ถิรพิรุฬห์ ทองคำวิฑูรย์. ผู้อำนวยการส่วนวิศวกรรมคลื่นความถี่ สำนักบริหารคลื่นความถี่ สำนักงาน กสทช. สัมภาษณ์. 23 มิถุนายน 2566

ธนาคารแห่งประเทศไทยและสำนักงาน กสทช. (2563). ข้อมูลรายงานความพร้อมของอุตสาหกรรม ในการนำเทคโนโลยี 5G มาใช้ในประเทศไทย. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : https://www.nbtc.go.th/Information/ผลการศึกษาวิจัย/47950.aspx.

นิรุตม์ จีนอยู่. ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม และที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยี สารสนเทศ สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. สัมภาษณ์. 9 มิถุนายน 2566

ปราณธีร์ รังแก้ว. (2555). กระบวนการนำเครื่องบดย่อยขยะเอนกประสงค์ไปใช้ในเขตอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณรัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วรกาน ลิขิตเดชาศักดิ์. หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีเครือข่ายโทรคมนาคม บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด. สัมภาษณ์. 23 มิถุนายน 2566

ศิวะนันท์ ศิวพิทักษ์. (2563). ทฤษฎีด้านนวัตกรรม. วารสารเซนต์จอห์น, 23(32). (ออนไลน์). เข้าถึง ได้จาก : https://sju.ac.th/pap_file/a96c0e1e91fc860c1ee2e155f088ab71.pdf

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ. (2566). สรุปสถิติเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ประจำเดือน. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://internet.nectec.or.th/webstats/ bandwidth.iir?Sec=bandwidth.

ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล, สำนักงาน. (2563). Digital Twin คู่เสมือนดิจิทัลในยุคแห่งนวัตกรรม. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : https://www.depa.or.th/th/article-view/article1-2563

ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล, สำนักงาน. (2564). บทสรุปผู้บริหารข้อเสนอแผนพัฒนาเมืองอัจฉริยะ “ภูเก็ต เมืองอัจฉริยะ” โดย สำนักงานจังหวัดภูเก็ต. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : https://manage.depa.or.th/storage/app/media/SmartCity/Tab_SmartCity/13_Phuket%20Smart%20City.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-20