การหาประสิทธิภาพการประยุกต์ใช้บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ในการควบคุมหุ่นยนต์ในรายวิชาไมโครโปรเซสเซอร์และอินเตอร์เฟส
Main Article Content
Abstract
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพการประยุกต์ใช้บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ในการควบคุมหุ่นยนต์ในรายวิชาไมโครโปรเซสเซอร์และอินเตอร์เฟส เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในการทำงานของโปรแกรมที่ใช้ในการควบคุมหุ่นยนต์ด้วยบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ อีกทั้งยังใช้ปรับปรุงและพัฒนาสื่อสำหรับการเรียนการสอนให้ทันสมัยมีความสอดคล้องกับเทคโนโลยีในปัจจุบัน ตลอดจนสามารถกระตุ้นกระบวนการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ (Arduino UNO) และเครื่องมือที่ใช้หาประสิทธิภาพซึ่งประกอบด้วยแบบประเมินความเหมาะสมของใบงานสำหรับ 5 ผู้เชี่ยวชาญและแบบสอบถามความพึงพอใจสำหรับกลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาไมโครโปรเซสเซอร์และอินเตอร์เฟส หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีโทรคมนาคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี ทั้งหมดจำนวน 24 คน ผลการศึกษาพบว่าการใบงานที่ผู้วิจัยจัดทำขึ้น ผ่านการประเมินจาก 5 ผู้เชี่ยวชาญในระดับมาก ด้านการประเมินความพึงพอใจผ่านการประเมินจากนักศึกษาในระดับมาก และประสิทธิภาพของใบงานที่สร้างขึ้น มีค่าเท่ากับ 81.25/87.08 ซึ่งพบว่าสูงกว่ากับเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด 80/80 โดยภาพรวมถือว่าใบงานมีเหมาะสมสำหรับการนำไปใช้พัฒนาการเรียนการสอนในวิชาไมโครโปรเซสเซอร์และอินเตอร์เฟสได้อย่างมีประสิทธิภาพ
The purposes of this study aims to find the efficiency of the application using microcontroller boards of the robots control in Microprocessor and Interfacing, to provide students with knowledge and understanding about the program in robots control by microcontroller boards and to improve and develop the modern teaching materials with the current technology as well as stimulate students the learning process. The research instrument was the microcontroller boards (Arduino UNO). The research methodology was the construction from labsheets evaluation form. The performance instruments were the evaluation form of the experts and the students’ satisfaction form. The samples were 24 students who registered in microprocessor and Interface subjects in telecommunication Technology course at Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi, Suphanburi. The results showed that the degree of the opinions of 5 experts was high level and the means of satisfaction of the sampling group was high level. The efficiency of experiment set was higher than the standard criteria 81.25/87.08. Therefore the sheets can be applied and developed for learning in microprocessor and interface course.