ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ: แนวทางปฏิบัติสำหรับครู
Main Article Content
Abstract
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวคิดและแนวทางปฏิบัติสำหรับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับครู เพื่อให้ครูซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติได้ขับเคลื่อนแนวคิดทางการศึกษานี้มาสู่ห้องเรียนและบริบทการทำงานของตนอย่างสอดคล้องกัน สาระสำคัญของบทความ ได้แก่ 1) ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เป็นการเรียนรู้ร่วมกันของผู้ร่วมวิชาชีพมีการแลกเปลี่ยนความคิด ความรู้เพื่อการเรียนรู้ต่อยอดองค์ความรู้ที่ได้จากการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนของครูแต่ละคนจะถูกนำมาจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ ผ่านการอภิปรายสะท้อนคิดตามหลักวิชาการ และนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง สิ่งที่ได้ตามมาคือครูมีความรู้ในเนื้อหาเทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้และกระบวนการวัดประเมินผล ทำให้สามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 2) แนวทางปฏิบัติสำหรับครูที่ต้องการสร้างความร่วมมือในการพัฒนานักเรียนผ่านชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ คือ การตั้งเป้าหมายแบบ SMART ได้แก่เป็นเป้าหมายที่เจาะจง (specific: S) สามารวัดได้ (measurable: M) สามารถทำได้จริง (attainable: A) มุ่งผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับนักเรียน (result-oriented) และมีกรอบเวลาที่ชัดเจน (time bound: T) และกระบวนการสอนงานแบบพี่เลี้ยง 3) องค์ประกอบของการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับครูมีจำนวน 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 3.1) ชุมชนกัลยาณมิตร 3.2) การมีวิสัยทัศน์และค่านิยมร่วมกัน 3.3) การมีภาวะผู้นำ 3.4) การเรียนรู้แบบร่วมแรงร่วมใจ และ 3.5) การมีพื้นที่ปฏิบัติงานร่วมกัน และ 4) เป้าหมายหลักที่สำคัญของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับครูคือการพัฒนานักเรียนให้มีความรู้และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
This article was presented for the concept of the professional learning community (PLC) and the guidelines for teachers who were practitioners which can be driving this educational concept into the classrooms and their work consistently. The article included 1) the PLC which was a collaborative learning of professionals and has an exchange of ideas that applies the knowledge for learning in the future. The knowledge gained from the learning management in the classroom and be systematically organized through the reflection of academic principles and also been sharing continuously. The result of PLC was the knowledgeable teachers, the learning management techniques and the evaluation process which be improved and developed continually, 2) the practices of teachers on work cooperation through the professional learning communities which called SMART targeting; specific (S), measurable (M),attainable (A), result-oriented (R), and time bound (T) and the process of mentoring and, 3) the component of PLC for teacher included 5 components; 3.1) caring community, 3.2) sharing vision and values, 3.3) leadership, 3.4) collaborative learning and, 3.5) sharing field and, 4) the major important goal of PLC of teacher is developing students to gain knowledge of the 21st century skills.