ปัจจัยที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความพึงพอใจของลูกค้าร้านทำเล็บ ในเขตห้วยขวางและเขตพระโขนงของกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยจัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลเชิงบวกของปัจจัยสิ่งสนับสนุนการจัดการด้านคุณภาพ ปัจจัยภาพลักษณ์ ปัจจัยการต้อนรับ ปัจจัยสถานที่ ปัจจัยผลิตภัณฑ์ ปัจจัยการเอาใจใส่ ปัจจัยคุณภาพของอุปกรณ์ และปัจจัยการตอบสนองในการให้บริการ ที่มีผลเชิงบวกต่อความพึงพอใจของลูกค้าร้านทำเล็บในเขตห้วยขวางและเขตพระโขนงของกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยการวิจัยเชิงสำรวจและใช้แบบสอบถาม ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือในเขตห้วยขวางและเขตพระโขนงของกรุงเทพมหานคร โดยมีขนาดของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 265 คน ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ในการวิเคราะห์ข้อมูลในช่วงเดือนสิงหาคม 2560 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถดถอยเชิงพหุคูณ พบว่ามีเพียงปัจจัยปัจจัยการตอบสนองในการให้บริการ (β = 0.340) ปัจจัยสถานที่ (β = 0.250) และปัจจัยสิ่งสนับสนุนการจัดการด้านคุณภาพ (β = 0.177) ที่มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยพหุคูณ (R square) หรืออิทธิพลเชิงบวกต่อความพึงพอใจของลูกค้าร้านทำเล็บได้ร้อยละ 40.7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งผู้วิจัยสามารถสร้างสมการการถดถอยได้ดังนี้ Y (ความพึงพอใจของลูกค้าร้านทำเล็บ) = 0.768 + 0.340 (การตอบสนองในการให้บริการ) + 0.250 (สถานที่) + 0.177 (สิ่งสนับสนุนการจัดการด้านคุณภาพ) ส่วนปัจจัยภาพลักษณ์ ปัจจัยการต้อนรับปัจจัยผลิตภัณฑ์ ปัจจัยการเอาใจใส่ และปัจจัยคุณภาพของอุปกรณ์ ไม่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของลูกค้าร้านทำเล็บ
Article Details
References
sub/2761/ข้อมูลประชากรและบ้าน (1 พฤศจิกายน 2560).
จิราภา ภาสุระธีระ และศิรินภา พรพิพัฒน์. 2556. การวิจัย แผนธุรกิจร้านเสริมสวย Infin. จุลนิพนธ์ บริหารธุรกิจบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เดลินิวส์. 2557. ธุรกิจร้านทําเล็บฝีมือดีทําเงินได้อีกยาว. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://www.dailynews.co.th/article/
224479 (1 พฤศจิกายน 2560).
นงลักษณ์ วิรัชชัย. 2555. การกำหนดขนาดตัวอย่างและสถิติวิเคราะห์ใหม่ๆ ที่น่าสนใจ. สภาวิจัยแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.
นันทรัตน์ อารยะกุล. 2557. แนวทางการสร้างความพึงพอใจต่อการบริการของธุรกิจบริการทำเล็บอย่างครบวงจร ย่านสุขุมวิท. การค้นคว้าอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพฯ.
ปียาณี บุญเฉลียว. 2558. ส่วนประกอบทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการทำเล็บของผู้หญิง ในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.
Cohen, J. 1997. Statistical power analysis for the behavioral sciences. Academic Press, New York.
Erdfelder, E., F. Faul and A. Buchner. 1996. GPower: A general power analysis program. Behavior Research Methods, Instruments, and Computers 28(1): 1-11.
Fiscal and investment information center of BMA. 2560. ข้อมูลเขตห้วงขวาง. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://203.155.
220.117:8080/BMAWWW/html_statistic/report_view.php?v_id=93 (1 พฤศจิกายน 2560).
Giritlioglu, I., E. Jones and C. Avcikurt. 2014. Measuring food and beverage service quality in spa hotels: A case study in Balıkesir, Turkey. International Journal of Contemporary Hospitality Management 26(2): 183-204.
Nunnally, C. 1978. Phychometric theory. McGraw-Hill, New York.
O’Brien, J.A. 2001. Introduction to information systems. McGraw-Hill, Boston, Massachusetts.
Sadeh, E. 2017. Interrelationships among quality enablers, service quality, patients’ satisfaction and loyalty in hospitals. The TQM Journal 29(1): 101-117.
Silvestri, C., B. Aquilani and A. Ruggieri. 2017. Service quality and customer satisfaction in thermal tourism. The TQM Journal 29(1): 55-81.
Song, H.J., S.Y. Bae and C.K. Lee. 2017. Identifying antecedents and outcomes of festival satisfaction: The case of a cosmetics and beauty expo. International Journal of Contemporary Hospitality Management 29(3): 947-965.