กระบวนการเรียนรู้ตามแนวทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อสร้างองค์ความรู้การใช้ประโยชน์จากวัสดุในท้องถิ่นเป็นวัสดุเพาะเห็ดและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ระหว่างก่อนกับหลังเรียนและศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบประเมินความสามารถในการแก้ปัญหาก่อนและหลังการทำกิจกรรมการเรียนการสอน เป็นแบบอัตนัย และแบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียน โดยใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) ตามวิธีของลิเคอร์ท สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่า t-test พบว่าการใช้วิธีสอนตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ส่งผลให้นักศึกษามีความสามารถในแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมติฐานที่ตั้งไว้ เป็นผลมาจากวิธีสอนตามแนวคิดคอนสรัคติวิสต์การเป็นการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนได้สร้างองค์ความรู้ร่วมกันและร่วมกันเสนอแนวคิดในการช่วยกันแก้ปัญหาทำให้นักเรียนได้มีโอกาสในการคิด ปฏิบัติด้วยตนเอง ส่งผลให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี ส่วนความพึงพอใจภาพรวม อยู่ในระดับที่มาก เฉลี่ยเท่ากับ 4.35 ส่วนระดับความพึงพอใจมากที่สุด ได้แก่ การอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มอื่น การใช้วิธีสอนแบบให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง การสอนมีความสนุกสนาน เฉลี่ยเท่ากับ 4.65 และมีความพึงพอใจน้อยที่สุดคือ เวลาในการทำกิจกรรมแต่ละครั้ง เฉลี่ยเท่ากับ 4.14
Article Details
References
Adom, D., Yeboah, A., & Ankrah. A. K. (2016). Constructivism philosophical paradigm: Implication for research, teaching and learning. Global Journal of Arts Humanities and Social Sciences, 4(10), 1-9.
Bada, & Olusegun, S. (2015). Constructivism learning theory: A paradigm for teaching and learning. IOSR Journal of Research and Method in Education, 5(6), 66-77.
Bodne, G. M. (1986). Constructivism: A theory of knowledge. Journal of Chemical Education, 63, 873-878.
Cunningham, D. J., & Knuth, R. (1993). Tools for constructivism: Designing environments for constructive leaning. Berlin: Spinger.
Dagar, V., & Yadav, A. (2016). Constructivism : A paradigm for teaching and learning. Arts and Social Sciences Journal, 7(4), 1-4.
Hung, D. (2001). Design principles for web-based learning; implication for Vygotskian thought. Educational Technology, 41(3), 33-41.
Karakul, R., & Nuangchalerm, P. (2016). The development of science activity package based on constructivist theory for Mathayomsuksa 4. Prawa Kalasin Journal, 3(2), 38-53. (in Thai)
Klinjan, C. (2017). A study on the achievement by using the creative process development of the course sound for multimedia technology. RMUTSB Academic Journal (Humanities and Social Science, 2(2), 149-157. (in Thai)
Koohang, A. (2009). A learning- centered model for blended learning design. International of Innovation and Learning, 6(1), 76-91.
Kunkeow, A. (2019). Statistic for research. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Kumar, A., & Teotia, A. K. (2017). Constructivism: A dynamic approach of teaching-learning social science at upper primary level. International Journal of Management and Applied Science, 3(5), 135-139.
Mohammed, S. H., & Kinyo, L. (2020). The role of constructivism in the enhancement of social studies education. Journal of Critical Review, 7(7), 249-256.
Panasuk, R. M., & Lewis, S (2012). Constructivism: Constructing meaning or making sense. International Journal of Humanities and Social Science, 2(20), 1-11.
Phuengprayoon, W., Romsai, P., & Thongson, P. (2019). The development of scientific teaching activities model integrating constructivism theory with questioning technique in developing scientific thinking and scientific mind of grade 6 students. MBU Education Journal, 7(2), 479-494. (in Thai)
Shah, R. K. (2019). Effective social constructivist approach to learning for social studies classroom. Journal of Pedagogical Research, 3(2), 38-51.
Svein, S. (2010). Constructivism and learning. International Encyclopedia of Education, 5, 485-490.
Yager, R. (1993). The constructivist learning mode. Science Teacher, 9(2), 52-59.