การพัฒนาความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล จิตนิสัยทางการเรียนคณิตศาสตร์และความมุ่งมั่นในการทำงาน เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ และการนำเสนอข้อมูลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ ตามแนวพุทธวิธีที่เน้นการเรียนรู้เชิงรุก

Main Article Content

เมธาสิทธิ์ ธัญรัตนศรีสกุล

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ตามแนวพุทธวิธีที่เน้นการเรียนรู้เชิงรุก 2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลก่อน ระหว่าง และหลังจัดการเรียนรู้ 3) เปรียบเทียบจิตนิสัยทางการเรียนคณิตศาสตร์ก่อนและหลังจัดการเรียนรู้ และ 4) ศึกษาความมุ่งมั่นในการทำงานหลังจัดการเรียนรู้ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ครูมัธยมศึกษาที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์และการจัดการเรียนรู้ตามแนวพุทธวิธี จำนวน 5 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 38 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ของโรงเรียนราชินีบูรณะ จังหวัดนครปฐม ใช้แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มตัวอย่างเดียววัดผลก่อนและหลังผสมผสานกับแบบแผนดุลยภาพเวลา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบประเมินความเหมาะสม ความสอดคล้องเชิงทฤษฎี และความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล 4) แบบวัดจิตนิสัยทางการเรียนคณิตศาสตร์ และ 5) แบบประเมินความมุ่งมั่นในการทำงาน การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ


          ผลการวิจัยพบว่า 1) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ตามแนวพุทธวิธีที่เน้นการเรียนรู้เชิงรุกมีชื่อว่า “METHA” ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ คือ ขั้นสร้างความพร้อมทางจิตและเร้าความสนใจ (M) ขั้นสำรวจเนื้อหา (E) ขั้นสืบสอบอย่างเชื่อมั่น (T) ขั้นปฏิบัติกับกลุ่ม (H) และขั้นประเมินและสรุป (A) มีความเหมาะสม ความสอดคล้องเชิงทฤษฎี และความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ในระดับมากที่สุด 2) ความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และหลังจัดการเรียนรู้ตามแนวพุทธวิธีที่เน้นการเรียนรู้เชิงรุกสูงกว่าระหว่างจัดการเรียนรู้ และระหว่างจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นั่นคือ มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างเป็นลำดับ 3) จิตนิสัยทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังจัดการเรียนรู้ตามแนวพุทธวิธีที่เน้นการเรียนรู้เชิงรุกสูงกว่าก่อนจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 4) ความมุ่งมั่นในการทำงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังจัดการเรียนรู้ตามแนวพุทธวิธีที่เน้นการเรียนรู้เชิงรุกอยู่ในระดับดี

Article Details

How to Cite
ธัญรัตนศรีสกุล เ. (2021). การพัฒนาความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล จิตนิสัยทางการเรียนคณิตศาสตร์และความมุ่งมั่นในการทำงาน เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ และการนำเสนอข้อมูลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ ตามแนวพุทธวิธีที่เน้นการเรียนรู้เชิงรุก. วารสารวิชาการ มทร.สุวรรณภูมิ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 92–108. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/rmutsb-hs/article/view/249622
บท
บทความวิจัย

References

Amnuayvorachai, K. (2012). Innovation in teaching statistics. Eastern Asia University Academic Journal, 6(2), 39-46. (in Thai)

Charoenwongsak, K. (2000). National brain molding: educational reform strategy. Bangkok: Success Media. (in Thai)

Chuuwanthawee, C. (2018). Teaching and learning mathematics. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai)

Costa, A. L. (2001). Developing minds: a resource book for teaching thinking. Alexandria: Association for supervision and curriculum development.

Dechakhup, P., & Yindesuk, P. (2018). Active learning combined with PLC for development. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai)

Fedler, R. M., & Brent, R. (1996). Navigating the bumpy road to student–centered instruction. College teaching, 44(2), 43-47.

Ferguson, G. A. (1989). Statistical analysis in psychology and education. New York: McGraw-Hill.

Hongsakul, W. (2018). Aggressive learning management in the era of Thailand 4.0. Proceedings of Graduate School Conference 2018 (pp. 479-486). Bangkok: Suan Sunandha Rajabhat university. (in Thai)

Jitchayavanich, K. (2020). Learning management. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai)

Khaemmanee, T. (2009). Pedagogy: knowledge for effective learning process. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai)

Klindokkaew, N. (2020). Buddhist methods of teaching. Retrieved 26 August 2020, from https://www.gotoknow.org/posts/3005382563 (in Thai)

Laowreandee, W., Kitrungruang, P., & Sirisamphan, O. (2017). Active learning management strategies to develop thinking and enhancing the quality of education for the 21st century. Nakhon Pathom: Petchkasem Printing Group. (in Thai)

Meyers, C., & Jones, T. B. (1993). Promoting active learning: strategies for the college classroom. San Francisco: Jossey-Bass.

Nilphan, M. (2011). Educational research methodology. Nakhon Pathom: Silpakorn University Press. (in Thai)

Nueangchaloem, P. (2013). Teaching and learning research. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai)

Phritikul, S. (2015). Active learning management. Retrieved 17 May 2019, from http://km.buu.ac.th/article/frontend/article_detail/141 (in Thai)

Saiyot, L., & Saiyot, A. (1995). Educational research techniques. Bangkok: Children's Club. (in Thai)

Sariwat, L. (2015). Cognition. Bangkok: Odeon Store. (in Thai)

Sinthapanon, S., Sukying, F., Weerakiatsunthorn, J., & Napharat, P. (2019). Various teaching methods for improving the quality of Thai youth. Bangkok: 9199 Techniques Printing. (in Thai)

Sirichanyaphong, N., Rojanaleis, N., & Keidnaimongkol, U. (2017). Working determination behavior of junior high school students. Nakhonchaisri district Nakhon Pathom province under the office of the secondary educational service area 9. Journal of Integrated Social Science, 5(2), 132-157. (in Thai)

Suthirat, C. (2012). 80 Innovative learning management that focuses on students as a priority. Bangkok: Danax. (in Thai)

Tanyarattanasrisakul, M., Wongsathonbunrat, W., & Sanitdee, P. (2020). Synthesis of research related to mathematical learning management (research report). Nakhon Pathom: Rachineeburana School. (in Thai)

Tanyarattanasrisakul, M., Wongsathonbunrat, W., Sanitdee, P., & Kadsuwan, W. (2020). Construct validity test of mathematical learning habits of mind for Matthayomsuksa 6 students of Rachineeburana school. Proceedings of the 17th national conference (pp. 4108-4118). Nakhon Pathom: Kasetsart University. (in Thai)

Thipkong, S. (2003). Mathematics curriculum and teaching. Bangkok: Academic Quality Development Institute. (in Thai)

Wanitchabancha, K. (2008). Statistical principle. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai)

Wongsakuldee, S., Phromrak, P., & Angkhanaphatkhachon, V. (2015). The results of the mathematics learning activities with active learning. On the problem solving ability and mathematical reasoning on statistics of Mathayomsuksa III students. Veridian E-Journal, Silpakorn university (humanities, social sciences and arts), 8(2), 1265-1281. (in Thai)

Woramethisrisakul, U., Deesuankhok, C., Nangtharaj, A., Wiangkha, S., Buachuay, S., & Srirawan, S. (2018).

Buddhist teaching methods. Journal of graduate studies Mahachula Khon Kaen, 5(1), 71-81. (in Thai)