การดำเนินคดีความรุนแรงในครอบครัว ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 :ศึกษาเฉพาะกรณีปัญหาการดำเนินการในชั้นพนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

Main Article Content

สุภัทร แสงประดับ

Abstract

ผลงานทางวิชาการนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายในการดําเนินคดีความรุนแรงในครอบครัวตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทําด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 โดยศึกษาเฉพาะกรณีปัญหาการดําเนินการในชั้นพนักงานเจ้าหน้าที้ของสํานักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวศึกษาเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับการดําเนินคดีความรุนแรงในครอบครัวหลักประกันสิทธิและเสรีภาพของบุคคลในครอบครัวตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพรราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทําด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องรวมทั้งพันธกรณีระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องศึกษาเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายในการดําเนินคดีความรุนแรงในครอบครัวในต่างประเทศทั้งประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายแบบลายลักษณ์อักษร (civil law) และระบบกฎหมายแบบจารีตประเพณี (common law) และในประเทศไทยตลอดจนการวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายในการดําเนินคดีความรุนแรงในครอบครัวในชั้นของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทําด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 จนได้ข้อสรุปและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงกฎหมายหรือมาตรการในการการดําเนินการในชั้นของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายดังกล่าวที่เหมาะสมกับสภาพสังคมไทยในปัจจุบันต่อไป

การวิจัยดังกล่าวเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิจัยจากเอกสาร (documentary research) ด้วยการศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลทางด้านเอกสารทั้งหมดที่เกี่ยวข้องซึ่งได้ค้นคว้าจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกฎหมายที่เกี่ยวข้องคําพิพากษาของศาลฎีการายงานการวิจัยวิทยานิพนธ์หนังสือตําราทางวิชาการบทความและวารสารทางวิชาการ

ผลที่ได้รับจากการวิจัยงานทางวิชาการนี้ พบว่า ปัญหาในการแบ่งแยกประเภทคดีความรุนแรงในครอบครัวนิยามคําว่า “บุคคลในครอบครัว” และ “ความรุนแรงในครอบครัว” ยังมีปัญหาที่จะต้องตีความหรือความไม่ชัดเจนของกฎหมายส่งผลทําให้เกิดปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายเฉพาะกับกฎหมายทั่วไปปัญหาการใช้อํานาจและมาตรการคุ้มครองสวัสดิภาพตามกฎหมายของพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ว่าจะเป็นเงื่อนไขในการใช้มาตรการคุ้มครองชั่วคราวระหว่างดำเนินคดีซึ่งกฎหมายได้กําหนดเงื่อนไขให้พนักงานเจ้าหน้าที่จะใช้มาตรการได้ก็ต่อเมื่อคดีนั้นต้องมีการร้องทุกข์ดําเนินคดีก่อนรัฐจึงไม่อาจเข้าไปแทรกแซงสิทธิความเป็นส่วนตัวของบุคคลในครอบครัวได้ยังผลให้การช่วยเหลือเยียวยาในคดีความรุนแรงในครอบครัวไม่ทันท่วงทีและเป็นเหตุทําให้บุคคลในครอบครัวได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิตปัญหาการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของผู้กระทําและผู้ถูกกระทําความรุนแรงในครอบครัวโดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับการนําเสนอข่าวสารของสื่อสารมวลชนในคดีความรุนแรงในครอบครัวพบว่ายังมีการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลหรือสิทธิของบุคคลในครอบครัวเกินสมควรหรือเป็นการซ้าเติมบุคคลในครอบครัวที่มีการใช้ความรุนแรงโดยเฉพาะเด็กอยู่บ่อยครั้งเนื่องจากกฎหมายฉบับนี้ให้ความคุ้มครองเมื่อคดีนั้นได้มีการแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือร้องทุกข์เป็นคดีต่อพนักงานสอบสวนแล้วซึ่งไม่สอดคล้องกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและขัดหรือแย้งกับหลักการที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ปัญหากลไกในการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ พบว่า ยังขาดพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อมาทําหน้าที่โดยเฉพาะ (case manager) นอกจากนี้ยังมีปัญหาในการบังคับบัญชาสั่งการและโครงสร้างของส่วนราชการในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ที่ยังไม่สอดคล้องกับภารกิจของส่วนราชการตามกฎหมายฉบับนี้ซึ่งยังกระจัดกระจายกันอยู่ทั้งในราชการส่วนกลางและราชการส่วนภูมิภาค ดังนั้นจากผลการศึกษาดังกล่าวทั้งหมดกรณีจึงเห็นสมควรที่จะให้มีการแก้ไขปัญหาดังกล่าวเพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายและการดําเนินการของพนักงานเจ้าหน้าที่และศาลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์หรือเจตนารมณ์ของกฎหมายต่อไป

 

The family’s violence proceedings by the Domestic Violence Victim Protection Act, B.E. 2550 (2007) : Problems competent officer of proceedings in the Office of Women's Affairs and Family Development

This academic work purposes to study on legal measurement which used to prosecute the domestic violence victims with protection under the Domestic Violence Act, B.E. 2550 through the actions of officials in the Office of Women's Affairs and Family Development in terms of the history, concepts and theories regarding the prosecution of domestic violence ,the coverage of individual’s rights and freedoms with the Constitution of the Kingdom of Thailand, Victims Protection Act, the Domestic Violence Act, B.E. 2550 and laws, the relevant international obligations. The study also focuses on the legal measurement which used to prosecute the domestic violence in foreign countries where the legal system is written (civil law), a common legal system (common law) and in Thailand. The legal issues in the prosecution of domestic violence in the official protection of the law base on the Domestic Victim Protection Act, 2550 B.E. The conclusion and recommendations of this academic work used as a guideline for improving in the law or measurement which conducted in the official statutory that is appropriate with the current social conditions in Thailand.

This research is a qualitative research conducted through the documentary research and the collecting of data from all related documents such as the Constitution of the Kingdom of Thailand, the related laws, the judgment of the Supreme Court, the research reports, the theses, the books, the academic texts, the articles and academic journals.

The results obtained from this academic research revealed that 1) the problem in the classification of cases of domestic violence definition of "family member" and "family violence" is the issue that must be interpreted and this uncertain of law enforcement resulted in a problem specific to the common law; 2) the problem of enforcement and measures for protecting the welfare of the legal officer such as the conditions of interim protection measures during the proceedings that the law defines the conditions shall take measures if the case should be prosecuted before a complaint, the state therefore cannot interfere to the right of privacy of the person's family. As a result, the cases of domestic violence cannot be assisted immediately and lead to family members fatal; 3) the protection of the rights and freedoms of the offender and the victim of domestic violence, especially when it comes to presenting the news media; 4) the case of domestic violence was found to have violated the privacy rights of persons in the household unreasonably. The family therefore has aggravated the violence, especially children are frequent. Since this law shall provide protection when the case has been notified to the competent authority or a complaint was filed against the officers, this is not consistent with the Universal Declaration and inconsistent with the principle that guaranteed by the Constitution; 5) the mechanical problems in the performance of the officer found the lack of competent officers that serve in particular (Case Manager) which is also a problem in the command and control structure of the government agency under the Ministry of Social Development and Human Security. This case is also not consistent with the mission of the government by this law which are scattered in both the Central Government and the Provincial Administration. As a result, according to the aforementioned, the case is supposed to fix such problems for law enforcement and the implementation of a court of competent and efficient and productive to achieve the purpose or intent of the law.

Article Details

How to Cite
แสงประดับ ส. (2016). การดำเนินคดีความรุนแรงในครอบครัว ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 :ศึกษาเฉพาะกรณีปัญหาการดำเนินการในชั้นพนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. RMUTSB ACADEMIC JOURNAL (HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCES), 1(1), 108–127. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/rmutsb-hs/article/view/96587
Section
บทความวิจัย (Research article)