ความคิดเห็นของพนักงานระดับปฏิบัติการต่อการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมของ บริษัทมหาชนแห่งหนึ่งในปี 2558

Main Article Content

ศศิวิมล เหลืองอิงคะสุต
มัลลิกา ผลอนันต์

Abstract

ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาความคิดเห็นของพนักงานระดับปฏิบัติการต่อการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมของบริษัทมหาชนแห่งหนึ่ง เพื่อศึกษาลักษณะทางด้านประชากรของพนักงานระดับปฏิบัติการ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน และรายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกันจะมีความคิดเห็นต่อการดําเนินกิจกรรมเพื่อสังคมของบริษัท ได้แก่ กิจกรรมที่ส่งเสริมการรับรู้ประเด็นปัญหาทางสังคม การตลาดเพื่อมุ่งแก้ไขปัญหาสังคม การบริจาคเพื่อการกุศล การอาสาช่วยเหลือชุมชนและการประกอบธุรกิจอย่างรับผิดชอบต่อสังคมแตกต่างกัน มีกลุ่มตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 200 ตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อการดําเนินกิจกรรมเพื่อสังคมของบริษัทอยู่ในระดับเห็นด้วย โดยเพศ อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการปฏิบัติงา นและรายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อความคิดเห็นในการดําเนินกิจกรรมเพื่อสังคมขององค์กรอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ทั้งนี้เมื่อควบคุมตัวแปรร่วมแล้วสถานภาพสมรสที่แตกต่างกันส่งผลต่อการอาสาช่วยเหลือชุมชนแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยสถานภาพโสดมีค่าเฉลี่ยน้อยกว่าสถานภาพอื่นๆ

 

The opinion of operational officers towards the corporative social responsibility activities of the public company limited in 2015

The study is about the democracy of the competent official such as, gender, age, educational level, marital status and experience in the public company. All of them have different opinions about the CSR activities of the public company, for instance the activity that educate people to know about the social problems and find the best solution to solve these problems and prevent them, marketing strategy for solving social problems donate for charity, helping local community by developing them, and run an ethical business in various way to develop the community in society. The researcher conducts the study by using 200 samples and found that there is agreeable in activity of CSR that public company give to the society. The research results from hypotheses indicate that gender, age, educational level, work experience, and income level have the significant effect to the opinion of samples size towards the corporative social responsibility activities. Furthermore, the researcher controls the factors that will effect to the research results and found out that different marital status has significantly influenced the helping local community factor at significant level 0.05 and single status has the lowest average score in marital status.

Article Details

How to Cite
เหลืองอิงคะสุต ศ., & ผลอนันต์ ม. (2016). ความคิดเห็นของพนักงานระดับปฏิบัติการต่อการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมของ บริษัทมหาชนแห่งหนึ่งในปี 2558. RMUTSB ACADEMIC JOURNAL (HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCES), 1(2), 138–144. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/rmutsb-hs/article/view/96599
Section
บทความวิจัย (Research article)