การบริหารหลักสูตรสถานศึกษากรณีโครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน โรงเรียนป่าซาง จังหวัดลำพูน

Main Article Content

สุพัตรา วรรณมะกอก

Abstract

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา 2) จัดกิจกรรมกรณีโครงงานเป็นฐานของผู้สอน 3) ศึกษาระดับสมรรถนะสําคัญของผู้เรียนและ 4) เปรียบเทียบระดับสมรรถนะสําคัญของผู้เรียนที่ผ่านการเรียนรู้กรณีโครงงานเป็นฐานจําแนกตามเพศและระดับชั้น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จํานวน 3 คน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ จํานวน 8 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจงผู้สอน จํานวน 37 คน นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จํานวน 154 คน โดยวิธีการสุ่มแบบง่ายเครื่องมือเป็นแบบสอบถามสถิติที่ใช้วิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one – way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยรายคู่ของ Tamhane’s

ผลการวิจัยพบว่าผู้บริหารมีการบริหารตามวงจรเดมมิ่ง (Deming cycle) เพื่อส่งเสริมสมรรถนะสําคัญของผู้เรียนบูรณาการกิจกรรมโครงงานเป็นฐานทุกกลุ่มสาระสอดคล้องกับผู้สอนที่จัดกิจกรรมกรณีโครงงานเป็นฐานโดยรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมากระดับสมรรถนะสําคัญของผู้เรียนทั้ง 5 ประการ โดยรวมอยู่ในระดับมากผลการเปรียบเทียบผู้เรียนที่มีเพศต่างกัน มีระดับสมรรถนะสําคัญของผู้เรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนผู้เรียนมีระดับชั้นเรียนแตกต่างกันมีระดับสมรรถนะสําคัญแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

 

School curriculum administration by project-based for encouraginge learner ability in Pasang School, Lamphun

The research aimed to study a school curriculum management involved project-based teaching, essential competencies of learners, and a comparison of competency levels through genders and learners’ grade levels. The purposive samples consisted of three administrators, eight heads of learning areas, and the simple random samples consisted of 154 students of Grade 7-12 (or Mathayom 1-6 in Thai educational system). The instrument was questionnaire with statistical treatment through frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, one-way ANOVA with Tamhane’s testing for post-hoc pair wise comparisons.

The finding was indicated that the administrator’s management uponed Deming cycle to promote essential competencies of learners and the project-based activities integrated of all relevant learning areas were at a high level in all four areas each. Five essential competencies of learners were at the high level in all five areas. The comparison between different genders of learners significantly differed at 0.05, and the different grade levels of learners were significantly different in essential competencies at 0.05.

Article Details

How to Cite
วรรณมะกอก ส. (2016). การบริหารหลักสูตรสถานศึกษากรณีโครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน โรงเรียนป่าซาง จังหวัดลำพูน. RMUTSB ACADEMIC JOURNAL (HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCES), 1(2), 145–155. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/rmutsb-hs/article/view/96600
Section
บทความวิจัย (Research article)