ปัญหาในทางกฎหมายการทำเหมืองแร่: ศึกษากรณีเหมืองแร่โปแตช จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

พสิษฐ์ ถาวรล้ำเลิศ

Abstract

ปัจจุบันการทำเหมืองแร่ในประเทศไทยมีจำนวนมากยิ่งขึ้น สาเหตุส่วนหนึ่งเป็นเพราะรัฐได้รับประโยชน์จากการอนุญาต สัมปทาน แต่รัฐกลับไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบที จะเกิดตามมาจากการทำเหมืองแร่ โดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่นับวันจะถูกทำลายมากขึ้นเรื่อยๆ ขณะเดียวกันสิทธิของประชาชนที่อยู่อาศัยในบริเวณที่ได้รับประทานบัตรถูกละเลยและไม่ได้รับการดูแล รวมทั้งอาใจใส่จากรัฐมากเท่าที่ควร

ผู้เขียนมุ่งศึกษาถึงหลักเกณฑ์ทางกฎหมายเกี่ยวกับข้อความคิดทฤษฎีการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ การประเมินผลกระทบระดับยุทธศาสตร์และการประเมินผลกระทบเบื้องต้น การคุ้มครองสิทธิของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ รวมทั้งหลักเกณฑ์การคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการคุ้มครองสิทธิของประชาชนตามกฎหมายไทย โดยผู้เขียนได้เลือกศึกษาการทำเหมือง กรณีเหมืองแร่โปแตช จังหวัดอุดรธานี เป็นเกณฑ์โดยยึดศึกษาจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ซึ่งได้กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของประชาชนที่จะได้รับผลกระทบ โดยแยกสิทธิของประชาชนออก 2 ประการ คือสิทธิของประชาชนที่อยู่รวมกันเป็นชุมชนหรือเรียกว่า สิทธิชุมชนและสิทธิของประชาชนแต่ละรายไป ซึ่งจะมีความแตกต่างกันในส่วนของการคุ้มครอง และการปฏิบัติต่อสิทธิ และกำหนดให้การดำเนินการโครงการหรือกิจกรรมที่อาจมีผลกระทบอย่างรุนแรงจะต้องมีการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสุขภาพ รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่อยู่ในบริเวณการทำเหมืองแร่ด้วย จากหลักเกณฑ์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยดังกล่าวทำให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ได้กำหนดหลักเกณฑ์ประเภทการทำเหมืองแร่ที่เข้าข่ายส่งผลกระทบอย่างรุนแรง ต้องดำเนินการทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสุขภาพแต่การกำหนดประเภทโครงการดังกล่าวทำให้มาตรการคุ้มครองผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น จากการดำเนินการทำเหมืองแร่นั้นไม่ครอบคลุม เนื่องจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ได้พิจารณาแต่เพียงประเภท หรือกิจการการดำเนินการของเหมืองแร่เท่านั้น แต่ไม่ได้มีการศึกษาและ ประเมินผลกระทบจากการดำเนินการของเหมืองแร่ทั้งหมดซึ่งมีได้หลายมิติ และอาจนำไปสู่การหลบเลี่ยงการดำเนินการทำเหมืองแร่ เพื่อไม่ต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสุขภาพ รวมทั้งการรับฟังความเห็นของประชาชนที่อยู่ในพื้นที่

จากการศึกษามาตรการในการคุ้มครองสิทธิของประชาชนแล้ว จึงเห็นสมควรให้มีการแก้ไขและปรับปรุงมติ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อม และประกาศต่างๆที่เกี่ยวข้อง โดยให้ครอบคลุมทั้งกระบวนการดำเนินการทำเหมืองแร่ ไม่ใช่พิจารณาจากลักษณะการดำเนินการแต่เพียงอย่างเดียว เพื่อให้เป็นไปเจตนารมณ์ของกฎหมาย ที่มุ่งส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของประชาชนอย่างสมบูรณ์

 

Legal issues in mining: A case study on potash mine, Udon Thani province

Current mining in Thailand had increased a lot because the government had benefited from the concessions granted. However, the government did not take into account the impact that would ensue from mining particularly in the aspect of natural resources and the environment that were being destroyed continuously. The rights of people living in areas had been affected had also been neglected and were not fully taken care by the government as they should be.

The author aimed to study the legal principles on the concepts, theories assessment of the impact on the environment, health, strategy and preliminary assessment on the protection of the rights of people affected by mining including the criteria of the protection of natural resources, the environment, and the people rights under the law of Thailand. The author had chosen to study the potash mine, Udon Thani province. The assessment was conducted based on the Constitution of the Kingdom of Thailand BE 2550 that had set the guidelines on the protection of the rights of people affectively. This was done by separating the rights into 2 aspects: rights of people who lived together as a community or refered to as community rights and the rights of individuals, which would be broken. The implementation of projects and activities that might have serious consequences required environmental and health impact analysis report to be prepared. The implementation also required listening to public opinion in the area of mining. The rules of the said Constitution of the Kingdom of Thailand resulted in the National Environment Committee, having set rules applicable to mines that would severely yield impact. The rules stated environmental health impacted analysis and the rules also required listening to public opinion in the area of mining report must have been performed. However, the said project formulation resulted in the protection from the potential impact of mining could not be fully implemented because The National Environment Committee only considered just the type or the business operations of the mines but did not study and assess the impact of all mining operations, which could be multi-dimensional and could lead to circumvention of conduct mining in order to not having to prepare a report on environmental and health impact analysis and listening to public opinion in the area of mining.

From the study on measures to protect the rights of the people, the associated National Environment Committee resolution and announcements should be amended and improved. To cover all the finery activities, not just only the producing progress and to be in accordance of the spirit of the law.

Article Details

How to Cite
ถาวรล้ำเลิศ พ. (2016). ปัญหาในทางกฎหมายการทำเหมืองแร่: ศึกษากรณีเหมืองแร่โปแตช จังหวัดอุดรธานี. RMUTSB ACADEMIC JOURNAL (HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCES), 1(2), 238–245. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/rmutsb-hs/article/view/97854
Section
Academic article