Journal Information
About the Journal
Journal History
วารสารรูสมิแล เป็นวารสารกึ่งวิชาการ ปัจจุบันอยู่ในกลุ่ม 3 ดำเนินการตีพิมพ์มายาวนานจนปัจจุบันเข้าสู่ปีที่ 41 จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้นักวิชาการท้องถิ่น ปราชญ์ท้องถิ่น และนักคิดนักเขียนในชุมชน ตลอดจนคณาจารย์ ข้าราชการ และนักวิชาการทั่วไปทั้งภายในและภายนอกได้มีโอกาสนำเสนอข้อเขียนที่มีคุณค่าต่อการสร้างองค์ความรู้ท้องถิ่น เพื่อเผยแพร่และแลกเปลี่ยน โดยเฉพาะองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมภาคใต้ ด้วยเหตุนี้ บทความที่ตีพิมพ์ลงในวารสารรูสมิแล จึงแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มบทความทั่วไป ข่าว สารคดี บันเทิงคดี กวี และบทวิจารณ์หนังสือ เป็นกลุ่มผลงานเขียนที่จะต้องไม่เคยเผยแพร่ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน โดยให้เป็นการพิจารณาและกลั่นกรองโดยบรรณาธิการ และ 2. กลุ่มบทความวิชาการ บทความวิจัย และบทความปริทัศน์ เป็นกลุ่มผลงานเขียนที่จะต้องผ่านการกลั่นกรองจากคณะผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการตามลำดับ
Focus and Scope
1. เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการ
2. เพื่อเผยแพร่บทความสารคดี และบันเทิงคดีเกี่ยวกับภาคใต้
3. เพื่อประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Peer Review Process
บทความวิชาการ บทความวิจัย บทความปริทัศน์ ที่ได้รับตีพิมพ์ในวารสารรูสมิแล จะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 2 ท่าน/1 บทความ และการประเมินคุณภาพบทความวิชาการ บทความวิจัย บทความปริทัศน์ จะเป็นการประเมินแบบ Double-blind คือ ผู้ประเมินไม่ทราบชื่อผู้แต่ง และผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้ประเมิน
Publication Frequency
วารสารรูสมิแล มีกำหนดการตีพิมพ์ 3 ฉบับ ต่อปี คือ
1. ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-เมษายน
2. ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม -สิงหาคม
3. ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน-ธันวาคม
Open Access Policy
วารสารรูสมิแล เปิดให้ผู้อ่านทุกท่านอ่านแบบฉบับออนไลน์ได้ฟรีโดยไม่ต้องสมัครสมาชิก
วารสารรูสมิแล
วารสารรูสมิแลเป็นวารสารกึ่งวิชาการ ราย 4 เดือน (3 ฉบับต่อปี) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้คณาจารย์ ข้าราชการและนักวิชาการทั่วไปทั้งภายในและภายนอกประเทศได้มีโอกาสเสนอผลงานทางวิชาการที่มีคุณภาพเพื่อเผยแพร่และแลกเปลี่ยนวิทยาการ โดยเฉพาะองค์ความรู้ใหม่ในสาขาสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ ผลงานเขียนที่จะได้รับการตีพิมพ์ต้องมีเนื้อหาเกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมภาคใต้อาจอยู่ในรูปแบบ บทความทั่วไป สารคดี บทความวิจัย บทกวี บทความปริทัศน์และบทวิจารณ์หนังสือ เป็นต้น
ต้นฉบับ (Manuscript) ที่ส่งพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ภายใต้เงื่อนไขว่าจะต้องไม่เคยเผยแพร่ในวารสาร หรือสิ่งพิมพ์ใดมาก่อน (ยกเว้นรายงานการวิจัย และวิทยานิพนธ์) และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณารอตีพิมพ์ในวารสารอื่น ในส่วนของบทความวิชาการ บทความวิจัย และบทความปริทัศน์จะผ่านการกลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง (peer-reviewed) อย่างเคร่งครัด และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการตามลำดับ
กรณีที่ผู้เขียนต้องการระบุแหล่งที่มาของข้อมูลในเนื้อเรื่อง
1) ให้ใช้วิธีการอ้างอิงในส่วนเนื้อเรื่องแบบนาม-ปี (author-date in text citation) โดยระบุ ชื่อผู้แต่ง และปี พิมพ์ของเอกสารไว้ข้างหน้าหรือข้างหลังข้อความที่ต้องการอ้าง เพื่อบอกแหล่งที่มาของข้อความนั้น และระบุเลขหน้าของเอกสารที่อ้างด้วย
2) ให้มีการอ้างอิงส่วนท้ายเล่ม (reference citation) โดยการรวบรวมรายการเอกสารทั้งหมดที่ผู้เขียนได้ใช้อ้างอิงในการเขียนผลงานนั้นๆ จัดเรียงรายการตามลำดับอักษรชื่อผู้แต่ง ภายใต้หัวข้อ เอกสารอ้างอิง สำหรับผลงานวิชาการภาษาไทยหรือ Reference สำหรับผลงานวิชาการภาษาอังกฤษ โดยใช้รูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิงแบบ APA (American Psychological Association)
จริยธรรมการตีพิมพ์บทความวิชาการ
- ผู้นิพนธ์ทุกคนที่มีชื่อปรากฏในบทความต้องเป็นผู้มีส่วนร่วมในการดำเนินการวิจัยจริง และต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัยนี้ในกิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี)
- ผู้นิพนธ์ต้องพิมพ์บทความให้ถูกต้องตามรูปแบบที่วารสารกำหนดไว้ในคำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์
- ผู้นิพนธ์ต้องอ้างอิงหากมีการนำผลงาน/รูปภาพของผู้อื่นมาใช้ในผลงานของผู้นิพนธ์ โดยผลงานเหล่านั้นต้องปรากฏอยู่ในบทความ และเอกสารอ้างอิงท้ายบทความ ตามรูปแบบที่วารสารกำหนด
- ผู้นิพนธ์ที่ส่งบทความเข้ารับการประเมินคุณภาพ ต้องเป็นผู้รับรองผลงานนั้นว่าเป็นผลงานใหม่และไม่เคยส่งพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารฉบับอื่น (ผู้นิพนธ์ลงลายมือชื่อรับรองในใบนำส่งบทความวิจัย)
- ผู้นิพนธ์ต้องนำเสนอรายงานข้อมูลที่เป็นจริงที่เกิดจากการดำเนินการวิจัย โดยไม่ให้ข้อมูลที่เป็นเท็จและไม่บิดเบือนข้อมูล และต้องระบุผลประโยชน์ทับซ้อน (ถ้ามี)
- บรรณาธิการมีหน้าที่ประเมินและตัดสินใจคัดเลือกบทความที่มีคุณภาพมาพิมพ์หลังจากผ่านกระบวนการประเมินบทความแล้ว โดยพิจารณาจากความใหม่ ความชัดเจน ความสำคัญ ความสมบูรณ์ และความสอดคล้องของเนื้อหากับนโยบายของวารสาร และมีหน้าที่พิจารณาคุณภาพของบทความวิจัยให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล เพื่อพิมพ์เผยแพร่ในวารสารที่ตนรับผิดชอบ
- บรรณาธิการต้องมีการตรวจสอบบทความในด้านการคัดลอกผลงานของผู้อื่น (Plagiarism) โดยใช้โปรแกรมที่น่าเชื่อถือได้อย่างจริงจัง ถ้าตรวจสอบแล้วพบว่า บทความใด ๆ มีการคัดลอกผลงานของผู้อื่น ในกระบวนการประเมินคุณภาพบทความ บรรณาธิการต้องหยุดกระบวนการประเมินและติดต่อผู้นิพนธ์หลักทันที เพื่อขอคำชี้แจงประกอบการตอบรับหรือปฏิเสธการพิมพ์เผยแพร่บทความนั้น ๆ โดยหลักการบทความที่พิมพ์ในวารสารต้องไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น
- บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลใด ๆ ในระหว่างช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความแก่บุคคลอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลของผู้นิพนธ์และผู้ประเมินบทความทุกคน
- บรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนใด ๆ กับผู้นิพนธ์ ผู้ประเมิน และทีมผู้บริหารของหน่วยงานตนเอง หรือของหน่วยงานอื่น
- บรรณาธิการต้องไม่ปฏิเสธการอนุมัติให้พิมพ์บทความ เพราะความสงสัย หรือไม่แน่ใจ หรือไม่เป็นไปตามข้อกำหนด โดยต้องหาหลักฐานทางวิชาการมาพิสูจน์ความสงสัยเหล่านั้นก่อน
- บรรณาธิการต้องปฏิเสธการอนุมัติให้พิมพ์บทความที่เคยพิมพ์เผยแพร่ที่อื่นมาแล้ว ทั้งในรูปแบบของวารสารหรือบทความหลังการนำเสนอในที่ประชุมวิชาการฉบับเต็ม
3) จริยธรรมของกองบรรณาธิการ
- กองบรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณาและตรวจสอบบทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์กับวารสารทุกบทความโดยพิจารณาความสอดคล้องของเนื้อหาบทความกับเป้าหมายและขอบเขตของวารสาร รวมถึงตรวจสอบคุณภาพบทความในกระบวนการประเมินคุณภาพบทความก่อนการตีพิมพ์
- กองบรรณาธิการต้องใช้หลักการพิจารณาบทความโดยอิงเหตุผลบนพื้นฐานทางวิชาการเป็นหลัก โดยต้องไม่มีอคติต่อผู้นิพนธ์และบทความที่พิจารณาไม่ว่าด้วยกรณีใด
- กองบรรณาธิการต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์หรือผู้ทรงคุณวุฒิไม่ว่าจะเพื่อประโยชน์ในเชิงธุรกิจหรือนำไปเป็นผลงานทางวิชาการของตนเอง
- กองบรรณาธิการต้องไม่ปิดกั้น เปลี่ยนแปลงหรือแทรกแซงข้อมูลที่ใช้แลกเปลี่ยนระหว่างผู้ทรงคุณวุฒิและผู้นิพนธ์
- กองบรรณาธิการต้องปฏิบัติตามกระบวนการและขั้นตอนต่างๆ ของวารสารอย่างเคร่งครัด
4) จริยธรรมของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินคุณภาพบทความ
- ผู้ประเมินต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย (Conflict of Interest) กับผู้นิพนธ์ เช่น เป็นผู้ร่วมดำเนินการวิจัย หรือมีความสัมพันธ์หรือรู้จักกับผู้นิพนธ์เป็นการส่วนตัว หรือเหตุผลอื่น ๆ ที่จะทำให้ผู้ประเมินบทความไม่สามารถให้ข้อเสนอแนะและความคิดเห็นอย่างอิสระได้ ถ้ามีหรือตระหนักว่าตัวเองอาจมีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้ประเมินบทความควรแจ้งบรรณาธิการวารสารทราบและปฏิเสธการประเมินบทความนั้น ๆ
- ผู้ประเมินต้องรักษาความลับและไม่เปิดเผยข้อมูลบางส่วนหรือทุกส่วนในบทความที่ส่งเข้ามารับการประเมินคุณภาพแก่บุคคลอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง ตลอดช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ
- ผู้ประเมินควรประเมินบทความในสาขาวิชาที่มีความเชี่ยวชาญ โดยพิจารณาความสำคัญ ความใหม่ คุณค่าของเนื้อหาในบทความที่จะมีต่อสาขาวิชานั้น ๆ ใช้ความเชี่ยวชาญเพื่อวิเคราะห์คุณภาพและความเข้มข้นของผลงาน โดยไม่ควรใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลทางวิชาการรองรับมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินบทความวิจัย
- ผู้ประเมินต้องแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบ หากพบว่ามีส่วนใดของบทความมีความเหมือน หรือซ้ำซ้อนกับผลงานของผู้อื่นโดยมีหลักฐานชัดแจ้ง
- ผู้ประเมินต้องเสนอแนะหรือระบุผลงานวิจัยที่สำคัญและสอดคล้องกับบทความที่กำลังประเมินในกรณีที่ผู้นิพนธ์ไม่ได้อ้างถึงเข้าไปในการประเมินบทความด้วย
หลักการของวารสาร
- บทความที่ได้รับการพิมพ์ลงวารสารจะต้องมีผลการประเมินคุณภาพผ่านเกณฑ์การพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (Peer Review) ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยอย่างน้อย 2 ท่าน/บทความ จากจำนวนผู้ทรงคุณวุฒิที่ประเมินบทความทั้งหมด 3 ท่าน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะต้องไม่สังกัดหน่วยงานเดียวกันกับผู้นิพนธ์
- บทความใดที่ผู้อ่านเห็นว่าได้มีการลอกเลียนหรือแอบอ้างโดยปราศจากการอ้างอิง หรือทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นผลงานของผู้นิพนธ์ กรุณาแจ้งให้กองบรรณาธิการทราบ
- บทความจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์และสัตว์ทดลอง กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์รับพิจารณาเฉพาะงานวิจัยที่ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์และสัตว์ทดลองเท่านั้น
- ผู้ทรงคุณวุฒิที่ประเมินบทความไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (Double-Blind Peer Review)
- บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบ ที่พิมพ์ลงวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใด ๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์แต่เพียงผู้เดียว
- บทความที่ส่งถึงกองบรรณาธิการ ขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่ส่งคืนผู้นิพนธ์