ความสัมพันธ์ระหว่างลิเกภาคใต้กับลิเกภาคกลาง และการดำรงอยู่ของลิเกคนใต้ คณะแก้วราหู แห่งลุ่มนํ้าทะเลสาบสงขลา
Keywords:
ลิเก, ลิเกภาคใต้, แก้วราหูAbstract
บทความชิ้นนี้ นำเสนอข้อมูลประวัติความเป็นมาของลิเกในประเทศไทย ทั้งนี้โดยทั่วไปการรับรู้ของ
สังคมไทยผ่านสื่อสารมวลชน แบบเรียนการศึกษา ถูกทำให้เชื่อว่าลิเก เป็นการละเล่นพื้นบ้านของผู้คนในแถบ
พื้นที่ภาคกลาง หากบทความชิ้นนี้ต้องการนำาเสนอข้อมูลที่แสดงถึงพลวัตของการแสดงลิเกในประเทศไทย
รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่าง “ลิเกภาคกลาง” กับ “ลิเกภาคใต้” โดยมีข้อมูลยืนยันว่า “ลิเก” มีต้นกำเนิดมา
จากชาวมุสลิมพื้นที่จังหวัดภาคใต้ และบทความยังได้นำเสนอประวัติความเป็นมาของ “ลิเกคณะแก้วราหู” ซึ่ง
เป็นลิเกคณะเก่าแก่ของภาคใต้ ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำาบลบ้านใหม่ อำาเภอระโนด จังหวัดสงขลา ทั้งนี้เมื่อพิจารณา
จากข้อมูลของ “ลิเกคณะแก้วราหู” ก็สามารถยืนยันได้ว่าการแสดงลิเกนั้นมีอยู่ในพื้นที่ภาคใต้มานานเกือบ
100 ปี โดยลิเกในภาคใต้เริ่มต้นจากการแสดงที่มุ่งไปที่สร้างความบันเทิง และเคลื่อนมาสู่การแสดงลิเก
เชื่อมกับกิจกรรมเทศน์มหาชาติทรงเครื่อง ทำให้ลิเกได้รับความนิยมจากผู้ชมในเวลานั้นอย่างมาก ขณะที่
ปัจจุบันคณะลิเกแก้วราหูดำรงอยู่ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงในบริบททางสังคมและสื่อบันเทิงรูปแบบใหม่
โดยบทความมีประเด็นการนำเสนอดังรายละเอียดต่อไป
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความในวารสารรูสมิแลเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ผู้ประสงค์จะนำข้อความใดๆ ไปเผยแพร่
ต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียนตามกฎหมายลิขสิทธิ์ และแจ้งให้ทางกองบรรณาธิการทราบ
กองบรรณาธิการขอสงวนลิขสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำเพื่อความเหมาะสม