ส่วย ภาษี และผลประโยชน์ของเจ้าเมืองปัตตานีในสมัยเจ็ดหัวเมือง

Authors

  • ปิยดา ชลวร มหาวิทยาลัยเท็นริ ประเทศญี่ปุ่น

Keywords:

ส่วย, ภาษี, ปัตตานี, สยาม, เจ็ดหัวเมือง, เจ้าเมืองปัตตานี

Abstract

การศึกษาประวัติศาสตร์ปัตตานีที่ผ่านมามัก
ถูกมองจากแง่มุมของการเมืองเป็นหลักโดยมี
แนวคิดที่แบ่งเป็นสองฝ่าย นั่นคือฝ่ายนักชาตินิยม
มลายูที่มองว่าการที่สยามเข้ามาปกครองปัตตานี
เป็นการปกครองแบบอาณานิคม และการรวม
ปัตตานีเข้ากับรัฐไทยเป็นการกดขี่ข่มเหงชาวมุสลิม
และฝ่ายนักชาตินิยมไทยที่มองว่าปัตตานีเป็น
ประเทศราชหรือหัวเมืองหนึ่งของไทยมาตั้งแต่
โบราณ เพราะฉะนั้นการรวมปัตตานีเข้ามาเป็น
มณฑลและต่อมาเป็นจังหวัดหนึ่งของไทยจึงไม่ใช่
เรื่องผิด เป็นการปฏิรูปและปรับปรุงการบริหาร
การปกครองให้ดีขึ้น การที่ประวัติศาสตร์นิพนธ์ของ
ปัตตานีถูกตีกรอบด้วยแนวคิดทางการเมืองสองแบบ
นี้ทำให้การศึกษาในแง่อื่น เช่นเรื่องสังคมและ
เศรษฐกิจถูกมองข้ามไปอย่างน่าเสียดาย

Downloads

Published

2017-12-26

How to Cite

ชลวร ป. (2017). ส่วย ภาษี และผลประโยชน์ของเจ้าเมืองปัตตานีในสมัยเจ็ดหัวเมือง. RUSAMILAE JOURNAL, 38(3), 47–62. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/rusamelae/article/view/108429