จาก “สามหม้าย” ณ บ้านดอน สู่ “ติกโกโน” แห่งกันตัง ครูเหลี่ยมและชีวิตอันเกี่ยวเนื่องกับภาคใต้
Keywords:
ครูเหลี่ยม, พระติกโกโน, วัดสามหม้าย, กันตัง, ตรังAbstract
วิทยานิพนธ์ของผมอันมีเนื้อหาพรั่งพรูเกี่ยวกับครูเหลี่ยมหรือหลวงวิลาศปริวัตร (เหลี่ยม วินทุ พราหมณกุล)
เพิ่งเสร็จสิ้นลงไปสดๆ ร้อนๆ
ที่ว่า “เสร็จสิ้น” ก็คือสามารถจัดทำเพื่อให้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขา
ประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จนลุล่วงแล้ว หากโดยสารภาพ ลึกลงไปในซอกกลีบความนึกคิด
ยังคงมีอีกหลายประเด็นที่ “ไม่เสร็จสิ้น” จากห้วงรู้สึก นั่นจึงเป็นภาระสำคัญอันเร่งเร้าให้ผมต้องลงมือ
เขียนงานอีกหลายชิ้นถ่ายทอดเรื่องราวคั่งค้างคาใจออกมา อย่างแน่นอน อีกหลายบรรทัดต่อไปนี้ ย่อมไม่พ้น
เข้าข่ายภาระดังกล่าว
บนหน้ากระดาษของวารสาร รูสมิแล ผมได้รับโอกาสให้บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับภาคใต้เป็นหลัก ครั้น
พอจะว่าถึงครูเหลี่ยมซึ่งดูเหมือนมีชีวิตโลดแล่นในกรุงเทพพระมหานครเสียส่วนใหญ่แล้ว ก็จำต้องค้นคว้าเฟ้น
หาแง่มุมที่เชื่อมโยงหัวเมืองปักษ์ใต้มานำเสนอ ช่างน่าดีใจยิ่ง ผมบังเอิญค้นพบว่าแท้แล้วครูเหลี่ยมเองก็มีส่วน
พัวพันต่อดินแดนทางใต้ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะพื้นที่วัดวาอาราม ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเขตสองจังหวัดสุราษฎร์ธานี
และตรัง
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความในวารสารรูสมิแลเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ผู้ประสงค์จะนำข้อความใดๆ ไปเผยแพร่
ต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียนตามกฎหมายลิขสิทธิ์ และแจ้งให้ทางกองบรรณาธิการทราบ
กองบรรณาธิการขอสงวนลิขสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำเพื่อความเหมาะสม