ย้อนอดีตปัตตานี : การปัก “หลักเมือง” ในบริบทความ (ไม่) มั่นคงของทศวรรษ 2490
Abstract
ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ หากเทียบชื่อเสียงของศาลหลักเมืองจังหวัดต่างๆ แล้ว ศาลหลักเมืองยะลาดูเหมือนจะเป็นที่รู้จักกันมากที่สุด เพราะมีการจัดงานเฉลิมฉลองกันทุกปี โดยชาวบ้านจะรู้จักกันดีในนาม “งานหลักเมือง” ที่จังหวัดจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ต่อเนื่องกันร่วมสัปดาห์ มีการออกร้าน มีมหรสพ ศิลปะการแสดงพื้นบ้านแขนงต่างๆ พร้อมการประกวดประชันอื่นๆ มากมาย แต่ศาลหลักเมืองยะลานั้นไม่ได้เก่าแก่เท่าศาลหลักเมืองปัตตานี แม้ว่าจะสร้างขึ้นในห้วงเวลาที่ไม่ห่างกันมากนัก แต่เมื่อพิจารณาจากวัตถุประสงค์ของการสร้างศาลหลักเมืองปัตตานีแล้ว จะพบว่าคณะผู้สร้างนั้นมีเจตนาที่จะให้ศาลหลักเมืองปัตตานีสื่อความหมายทางการเมืองและความเชื่อศรัทธาครอบคลุมไปถึงพื้นที่จังหวัดยะลาและนราธิวาสอีกด้วย อันจะเห็นได้ว่าในห้วงเวลานั้น ความตระหนักถึงจังหวัดชายแดนภาคใต้ในฐานะ “หน่วยทางวัฒนธรรมอันจำเพาะ” ยังมีอิทธิพลอยู่ในวิธีคิดเกี่ยวกับการจัดการทางการเมืองของราชการไทยในช่วงการยกเลิกระบบมณฑล ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ใหม่ๆ บทความนี้จะย้อนรอยความคิดและปรากฏการณ์เรื่องการสร้างหลักเมืองปัตตานี ตามหลักฐานลายลักษณ์อักษรของราชการที่หลงเหลืออยู่ ซึ่งจะแสดงให้เห็นบุคคลแวดล้อมผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง บทบาทของรัฐบาลกลาง และบทบาทคนในท้องถิ่นที่ได้ร่วมกันสร้างศาลหลักเมืองเพื่อให้เป็นหลักหมายแห่งการเมืองและอำนาจ ตลอดจนความเชื่อในคนส่วนหนึ่งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ การผูกดวงเมืองDownloads
Published
2018-09-01
How to Cite
แสงทอง พ. (2018). ย้อนอดีตปัตตานี : การปัก “หลักเมือง” ในบริบทความ (ไม่) มั่นคงของทศวรรษ 2490. RUSAMILAE JOURNAL, 39(3), 51–56. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/rusamelae/article/view/178890
Issue
Section
ACADEMIC ARTICLES
License
บทความในวารสารรูสมิแลเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ผู้ประสงค์จะนำข้อความใดๆ ไปเผยแพร่
ต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียนตามกฎหมายลิขสิทธิ์ และแจ้งให้ทางกองบรรณาธิการทราบ
กองบรรณาธิการขอสงวนลิขสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำเพื่อความเหมาะสม