ประเพณีลายลักษณ์ในชุมชนลุ่มทะเลสาบสงขลา: วัฒนธรรมแห่งความรู้จากยุคตัวเขียนสู่ยุคการพิมพ์ ตอนที่ 1

Authors

  • วินัย สุกใส มหาวิทยาลัยทักษิณ

Abstract

หากมองอย่างผิวเผิน สังคมชาวนาในอดีตดูเหมือนจะเป็นสังคมอิสระที่สามารถดำรงอยู่ได้โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาสังคมอื่นมากนัก  โดยเฉพาะสังคมเมือง   แต่เมื่อมองลึกลงไปถึงในรายละเอียดก็จะพบว่าในสภาพความเป็นจริงแล้ว  สังคมชาวนาจะมีความสัมพันธ์กับสังคมเมืองมาตลอด  ดังนั้น แม้จะมีข้อสรุปว่า การถ่ายทอดวัฒนธรรมของสังคมชาวนาเป็นการถ่ายทอดด้วยประเพณีมุขปาฐะอันเป็นวัฒนธรรมราษฎร์  แต่ก็ไม่อาจปฏิเสธการดำรงอยู่ของประเพณีลายลักษณ์อันเป็นลักษณะของวัฒนธรรมหลวงได้  ทั้งนี้เพราะวัฒนธรรมทั้ง ๒ ลักษณะนี้ไม่ได้เป็นอิสระขาดจากกัน  หากแต่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันอยู่ตลอดเวลา   ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมราษฎร์และวัฒนธรรมหลวงมีลักษณะเป็นปฏิสัมพันธ์ในลักษณะ ‘ยืมกันไป ยืมกันมา’ (ศิราพร  ฐิตะฐาน ณ ถลาง, 2537, น. 44 ) สังคมชาวนาลุ่มทะเลสาบก็หาแตกต่างไปจากสังคมชาวนาอื่น ๆ ไม่   ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมระหว่างชุมชนชาวนาลุ่มทะเลสาบกับสังคมเมืองและเมืองหลวงจึงดำรงอยู่อย่างเห็นได้ชัดตลอดมา  

Author Biography

วินัย สุกใส, มหาวิทยาลัยทักษิณ

หากมองอย่างผิวเผิน สังคมชาวนาในอดีตดูเหมือนจะเป็นสังคมอิสระที่สามารถดำรงอยู่ได้โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาสังคมอื่นมากนัก  โดยเฉพาะสังคมเมือง   แต่เมื่อมองลึกลงไปถึงในรายละเอียดก็จะพบว่าในสภาพความเป็นจริงแล้ว  สังคมชาวนาจะมีความสัมพันธ์กับสังคมเมืองมาตลอด  ดังนั้น แม้จะมีข้อสรุปว่า การถ่ายทอดวัฒนธรรมของสังคมชาวนาเป็นการถ่ายทอดด้วยประเพณีมุขปาฐะอันเป็นวัฒนธรรมราษฎร์  แต่ก็ไม่อาจปฏิเสธการดำรงอยู่ของประเพณีลายลักษณ์อันเป็นลักษณะของวัฒนธรรมหลวงได้  ทั้งนี้เพราะวัฒนธรรมทั้ง ๒ ลักษณะนี้ไม่ได้เป็นอิสระขาดจากกัน  หากแต่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันอยู่ตลอดเวลา   ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมราษฎร์และวัฒนธรรมหลวงมีลักษณะเป็นปฏิสัมพันธ์ในลักษณะ ‘ยืมกันไป ยืมกันมา’ (ศิราพร  ฐิตะฐาน ณ ถลาง, 2537, น. 44 ) สังคมชาวนาลุ่มทะเลสาบก็หาแตกต่างไปจากสังคมชาวนาอื่น ๆ ไม่   ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมระหว่างชุมชนชาวนาลุ่มทะเลสาบกับสังคมเมืองและเมืองหลวงจึงดำรงอยู่อย่างเห็นได้ชัดตลอดมา  

   

Downloads

Published

2019-07-25

How to Cite

สุกใส ว. (2019). ประเพณีลายลักษณ์ในชุมชนลุ่มทะเลสาบสงขลา: วัฒนธรรมแห่งความรู้จากยุคตัวเขียนสู่ยุคการพิมพ์ ตอนที่ 1. RUSAMILAE JOURNAL, 40(1), 55–66. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/rusamelae/article/view/207488