ผลกระทบจากวิกฤตการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีต่อเศรษฐกิจชุมชน

ศึกษาเฉพาะกรณีชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี

Authors

  • อ้อมใจ วงษ์มณฑา สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

Abstract

จากหลักฐานเอกสารโบราณของจีน อาหรับ ชวา มลายู และจารึกของชาวอินเดียที่ปรากฏนามเมืองของรัฐสำคัญแห่งหนึ่งบนแหลมมลายู ซึ่งออกเสียงตามสำเนียงในแต่ละภาษา เช่น หลังยาซูว หลังยาซีเจีย (ภาษาจีน) เล็งกะสุกะ (ภาษาชวา) ลังคะศุกา (ภาษาอาหรับ) ลังกะสุกะ ลังกาสุกะ (ภาษามลายู) นักวิชาการสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นชื่อเมืองเดียวกัน ที่เคยตั้งอยู่ในรัฐเคดะห์ ประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย และจังหวัดปัตตานีในประเทศไทย เมืองปัตตานีได้ชื่อว่าเป็นหัวเมืองฝ่ายใต้ปลายแหลมมาลายู มีฐานะเป็นเมืองประเทศราชของกรุงศรีอยุธยามาตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และอยู่ภายใต้อำนาจของกษัตริย์กรุงศรีอยุธยาเรื่อยมา แม้ว่าปัตตานีเป็นเมืองประเทศราชของกรุงศรีอยุธยาก็ตาม แต่ด้วยเหตุที่เมืองปัตตานีมีความเจริญมั่นคงทางเศรษฐกิจเป็นอย่างดี ทำให้เจ้าเมืองปัตตานีต้องการเป็นอิสระหลายครั้ง ต่อมาในปี พ.ศ. 2146 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีรับสั่งให้ออกญาเดโชยกทัพไปตีเมืองปัตตานี เพื่อยึดเข้าไว้ในพระราชอำนาจ แต่ไม่สำเร็จ เนื่องจากปัตตานีได้รับการช่วยเหลือจากพ่อค้าชาวยุโรป ทั้งอาวุธปืนใหญ่และทรัพย์สินเงินทอง ในสมัยพระเพทราชา (พ.ศ. 2231-2245) เมืองปัตตานีไม่พอใจในการสถาปนาขึ้นใหม่ของกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา จึงประกาศไม่ยอมขึ้นกับกรุงศรีอยุธยาอีกครั้งทำให้ปัตตานีเป็นอิสระต่อเนื่องมาก

Downloads

Published

2019-07-25

How to Cite

วงษ์มณฑา อ. (2019). ผลกระทบจากวิกฤตการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีต่อเศรษฐกิจชุมชน: ศึกษาเฉพาะกรณีชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี. RUSAMILAE JOURNAL, 40(1), 95–99. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/rusamelae/article/view/207500