จาก “หะยีสุหลง โต๊ะมีนา” ถึง “ทนายสมชาย นีละไพจิตร” และ “บิลลี่”
การอุ้มหายและการเยียวยาเพื่อการอยู่ร่วมกันในอนาคต
Keywords:
อุ้มหาย, หะยีสุหลง โต๊ะมีนา, ทนายสมชาย นีละไพจิตร, บิลลี่, การเยียวยา, จังหวัดชายแดนภาคใต้Abstract
บทความชิ้นนี้ เป็นการวิเคราะห์บทเรียนของครอบครัวผู้สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักจากกรณีอุ้มหายกรณีต่างๆ ได้แก่ หะยีสุหลง โต๊ะมีนา ทนายสมชาย นีละไพจิตร จนกระทั่งกรณีปัจจุบันคือ “บิลลี่” หรือ พอละจี รักจงเจริญ นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนชาวกะเหรี่ยงแห่งบ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดิน ครอบครัวของคนที่ถูกอุ้มหายจะพบว่าได้รับผลกระทบทางด้านจิตใจ หรือแผลใจ (psychological trauma) ที่รุนแรงที่สุดหากเปรียบเทียบกับแผลใจจากกรณีอื่นๆ เพราะการถูกบังคับให้หายสาบสูญเป็นการสูญเสียที่ไม่มีความชัดเจน (ambiguous loss) และไม่สามารถยืนยันความสูญเสียได้ (unconfirmed loss) กุญแจสำคัญคือ การขาดข้อมูลข่าวสารของผู้ที่สูญหาย ดังนั้นรัฐบาลมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการสื่อสารกับครอบครัวของผู้ที่สูญเสีย และมีการดำเนินคดีที่เป็นธรรม เพื่อคืนความยุติธรรมให้กับครอบครัวของผู้ที่สูญหาย
References
The CENTER for VICTIMS of TORTURE. (2019a). Enforced Disappearances: Ambiguity Haunts the Families of Iraq's Missing. Retrieved from https://www.cvt.org/Disappearances
The CENTER for VICTIMS of TORTURE. (2019b). Enforced Disappearances: Ambiguity Haunts the Families of Iraq’s Missing. Retrieved from http://www.cvt.org/sites/default/files/attachments/u93/downloads/2016_disappearances_paper.pdf
United Nations Human Rights Office of the High Commissioner (1996-2019). Committee on Enforced Disappearances. https://www.ohchr.org/EN/HRBodies/CED/Pages/CEDIndex.aspx
United Nations Human Rights Office of The High Commissioner. (1996-2019). Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment. Retrieved from https://www.ohchr.org/en/professionalinterest/pages/cat.aspx
ข่าวไทยพีบีเอส. (2562). ลำดับเหตุการณ์คดี “บิลลี่” หายตัวนานกว่า 5 ปี. สืบค้นจาก https://news.thaipbs.or.th/content/283675
จีคิวไทยแลนด์. (2560). ย้อนรอยคนไทยที่ (ถูกอุ้ม) หายไป. สืบค้นจาก https://www.gqthailand.com/life/article/enforced-disappearance
จุฬารัตน์ ดำรงวิถีธรรม. (2559). ถังแดง: การซ่อมสร้างประวัติศาสตร์และความทรงจำหลอนในสังคมไทย. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ไทยรัฐออนไลน์. (2562). ย้อนคดี “ทนายสมชาย” ยอดคนดี โดนอุ้มอุกอาจกลางกรุง คนเห็นเพียบ แต่เป็นปริศนา. สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/1654923
ธันยพร บัวทอง. (2019). บิลลี่ : ดีเอสไอเผยดีเอ็นเอชิ้นส่วนกะโหลกตรงกับแม่ของ "พอละจี รักจงเจริญ". สืบค้นจาก https://www.bbc.com/thai/thailand-49561737
บีบีซีนิวส์ไทย. (2019). จาก ทักษิณ สู่ ประยุทธ์ การสูญหายของ สมชาย นีละไพจิตร กับ ไฟใต้ ที่ยังไร้คำตอบ. สืบค้นจาก https://www.bbc.com/thai/thailand-47521488
ปริญญา นวลเปียน. (2562). โซนสีเทาในพื้นที่สีแดง: ภาพสะท้อนจากเขตปลดปล่อยบริเวณชุมชนเชิงเขาบรรทัด ใน ยุค สงครามเย็น. RUSAMILAE JOURNAL, 39(3), 7-20.
มติชนออนไลน์. (2561). 4 ปี คดี ‘บิลลี่’ ไม่คืบ ICJ จี้ DSI รับเป็นคดีพิเศษ ชี้เสี่ยงถูกมองมีส่วนในวัฒนธรรมลอยนวลคนผิด. สืบค้นจาก https://www.matichon.co.th/local/crime/news_919122
วจนา วรรลยางกูร. (2559). “ถังแดง”บทเรียนจากความตาย จุฬารัตน์ ดำรงวิถีธรรม “ถีบลงเขา เผาลงถังแดง”. สืบค้นจาก https://www.matichon.co.th/prachachuen/news_221421
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความในวารสารรูสมิแลเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ผู้ประสงค์จะนำข้อความใดๆ ไปเผยแพร่
ต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียนตามกฎหมายลิขสิทธิ์ และแจ้งให้ทางกองบรรณาธิการทราบ
กองบรรณาธิการขอสงวนลิขสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำเพื่อความเหมาะสม