ทฤษฎีเชิงช่าง Islamic Geometry แนวคิด ความงาม และการสร้างสรรค์

Authors

  • วรพจน์ ไวยเวทา นักศึกษาปริญญาโทสาขาวิชาทัศนศิลป์ แขนงวิชาประวัติศิลปะ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Abstract

สุนทรียศาสตร์ ศิลปะ ความงาม กับศิลปะวิทยาการแขนงต่างๆ เป็นศาสตร์และศิลป์ที่อยู่คู่กับมิติของความศรัทธามาช้านาน  นับตั้งแต่ความสมบูรณ์ของศาสนาที่ท่านนบีมูฮัมหมัดﷺ ได้สร้างความประจักษ์แก่สังคมโลก  มรดกความงามแห่งวิถีชีวิตสามารถเปลี่ยนแปลงสังคมชาวอาหรับที่ป่าเถื่อนสู่การบรรลุถึงธรรมะขั้นสูงสุดที่มาจากพระองค์อัลลอฮ์พระผู้เป็นเจ้า  คำสอนมากมายที่เป็นพระวจนะของพระองค์อัลลอฮ์ในคัมภีร์อัลกุรอานที่ส่งผ่านมายังท่านนบีได้สั่งใช้ให้พินิจพิเคราะห์ความงดงามในธรรมชาติ ทุกสรรพสิ่งที่พระองค์อัลลอฮ์ทรงสร้างสรรค์ไว้ให้แก่มนุษยชาติทั้งหลาย  ความเข้าใจในทุกโองการถูกไตร่ตรองถึงเหตุและผลในการประทานลงมาตามวาระต่างๆ ท่านนบีได้อรรถาธิบายไว้อย่างละเอียดถี่ถ้วนในอัลฮะดีษ (คำพูดและการปฏิบัติ) ของท่าน ผ่านการถ่ายทอดและจดบันทึกจากสานุศิษย์และบรรดาภรรยา  ดังนั้นคัมภีร์อัลกุรอานและอัลฮะดีษจึงเป็นดั่งแกนหลักในศาสตร์แขนงต่างๆ ที่ชาวมุสลิมจะต้องยึดถือและนำไปปฏิบัติ  เป็นทางนำแห่งการดำเนินชีวิตที่จะทำให้บรรลุถึงความงดงามและความสงบสุขศานติของศาสนากับการมีชิวิตอยู่บนโลกใบนี้

Downloads

Published

2019-08-01

How to Cite

ไวยเวทา ว. (2019). ทฤษฎีเชิงช่าง Islamic Geometry แนวคิด ความงาม และการสร้างสรรค์. RUSAMILAE JOURNAL, 40(2), 45–56. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/rusamelae/article/view/225759