ประเพณีลายลักษณ์ในชุมชนลุ่มทะเลสาบสงขลา : วัฒนธรรมแห่งความรู้จากยุคตัวเขียนสู่ยุคการพิมพ์ (3)
Abstract
(ต่อจากฉบับที่แล้ว)
ในส่วนของขนบนิยมทางด้านวรรณศิลป์ ไม่ว่าจะเป็นการพรรณนาความที่มีลักษณะของการชมธรรมชาติ ชมความงามของตัวละคร ชมบ้านเมือง หรือบทพรรณนาคร่ำครวญต่าง ๆ ล้วนยึดแบบแผนในการประพันธ์ที่มีมาแต่เดิมและ/หรือนำเอาแบบแผนของวรรณกรรมหลวงมาใช้มากขึ้น เช่น มักถือเอาความไพเราะของถ้อยคำมากกว่าความสมจริง ดังตัวอย่างบทชมธรรมชาติในเรื่องแก้วสองภาค ของ หนูแก้ว นครจันทร์ ว่า
ออกทุ่งนาอากาศปราศเมฆหมอก อาทิตย์เพ่งเปล่งออกละลอกส่ง
คือพยับแดดกล้าร้อนพระองค์ จักระพงศ์เหงื่อพรายไพร่นำจร
พอบ่ายคล้อยหน่อยหนึ่งถึงป่ากว้าง มีทุกอย่างควนเขินเนินสิงขร
พฤกษชาติดาษดาอรชร ต่างซับซ้อนก้านใบเล็กใหญ่โต
ต้นไม้ดอกออกช่อละออเอี่ยม ดูยอดเยี่ยมอย่างยิ่งเคียงกิ่งโถ
ทั้งเหลืองแดงขาวม่วงพวงโตๆ ชื่อชงโคโยทะกาสาระภี
มีสลับซับซ้อนซ่อนกิ่งใบ ดูผ่องใสงามระยับสลับสี
พระพายพัดกวัดแกว่งแสดงดี เกสรศรีฟุ้งกระจายตามสายลม
แมลงภู่หมู่ผึ้งบินคลึงเคล้า แล้วเลยเข้าอาบละอองพ้องผะสม
เสียงหึ่งหื่อพือปีกหลีกสายลม แล้ว ... มาลีบาน
References
ประพนธ์ เรืองณรงค์. (2542). สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้ เล่ม 17. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.
ปราณี ขวัญแก้ว. (2517). วรณคดีชาวบ้านจาก “บุดดำ” ตำบลร่อนพิบูลย์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร, กรุงเทพฯ.
พระจู จันทร์แก้ว. (2545, 21 กันยายน.) (สัมภาษณ์).
พิเชฐ แสงทอง. (2545). ศึกษาลักษณะเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนชาวนาบริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลาในวรรณกรรมนิราศ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.
ยงยุทธ ชูแว่น. (2541). โลกของลุ่มทะเลสาบ. ปทุมธานี: นาคร.
ล้อม เพ็งแก้ว. (2531). รายงานการสัมมนา ประวัติศาสตร์และโบราณคดีพัทลุง. (ม.ป.ท.).
วิภา กงกะนันทน์. (2540). กำเนิดนวนิยายในประเทศไทย (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า.
ศิราพร ฐิตะฐาน ณ ถลาง. (2537). ในท้องถิ่นมีนิทานและการละเล่น: การศึกษาคติชนในบริบทสังคมไทย. กรุงเทพฯ: มติชน.
สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. (2536). น้ำบ่อทราย: รวมข้อเขียนทางคติชนวิทยา. สงขลา: สถาบันทักษิณคดีศึกษา
_______. (2542). สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคใต้ เล่ม 14. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์
เสาวลักษณ์ กีชานนท์ (ผู้แปล). (2535). เอกสารเนื่องในวันขึ้นปีใหม่ เรื่องวิวัฒนาการของอาณาจักรสยาม รวมเรื่องแปลและเอกสารทางประวัติศาสตร์ ชุดที่ 2. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
อุดม หนูทอง. (2521/2529?). วรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ประเภทนิทานประโลมโลก. สงขลา: ศูนย์ส่งเสริมภาษาและวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความในวารสารรูสมิแลเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ผู้ประสงค์จะนำข้อความใดๆ ไปเผยแพร่
ต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียนตามกฎหมายลิขสิทธิ์ และแจ้งให้ทางกองบรรณาธิการทราบ
กองบรรณาธิการขอสงวนลิขสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำเพื่อความเหมาะสม