การประเมินผลรูปแบบนโยบายแห่งรัฐในการแก้ปัญหาสถานการณ์ความไม่สงบเรียบร้อยของจังหวัดชายแดนภาคใต้

Authors

  • อ้อมใจ วงษ์มณฑา นักวิชาการอุดมศึกษา สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Keywords:

ความไม่สงบ, สามจังหวัดชายแดนใต้, นโยบายของรัฐ

Abstract

จังหวัดชายแดนภาคใต้มีอัตลักษณ์เฉพาะทาง
สังคม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และ
ศาสนาที่แตกต่างจากภูมิภาคอื่นของประเทศ
ประกอบกับพื้นที่นี้อยู่ติดกับประเทศเพื่อนบ้านที่มี
ลักษณะทางสังคม วัฒนธรรมและศาสนาเดียวกัน
เป็นพื้นที่ที่มีลักษณะพิเศษมีลักษณะทางสังคม
ผิดแผกแตกต่างจากดินแดนส่วนอื่น ๆ ของประเทศ
ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม มีเอกลักษณ์
ทางด้านภาษา ศาสนา ความเชื่อ วัฒนธรรมและ
ขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นของตน มีความสำนึก
ในประวัติศาสตร์ของตนเองสูง มีความรู้สึกว่าเขาเอง
เป็นชนพื้นเมืองในท้องถิ่นที่มิได้อพยพมาจากที่ไหน
ในขณะที่ประชาชนอีกส่วนหนึ่งนับถือศาสนาพุทธ
และศาสนาอื่น ๆ ที่แตกต่างกันไป จึงทำให้พื้นที่สาม
จังหวัดชายแดนภาคใต้มีลักษณะความหลากหลาย
ทางวัฒนธรรมความแตกต่างย่อมก่อให้เกิดปัญหา
ความขัดแย้ง อันมีรากเหง้าลึกซึ้งซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐาน
ของลัทธิความเชื่อ รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ
กับฝ่ายศาสนา อันนำไปสู่ความไม่ยอมรับในอำนาจ
สถานภาพ สิทธิและเสรีภาพของกันและกัน จนก่อ
ให้เกิดการจัดตั้งกลุ่มขบวนการมุสลิมต่าง ๆ ทั้ง
ภายในและภายนอกประเทศ เพื่อปกป้องสถานภาพ
สิทธิและเสรีภาพของประชาชนจนกลายเป็นปัญหา

ทางสังคมวิทยาและส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของ
ประเทศ การเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ การค้า
การลงทุน ตลอดจนการท่องเที่ยว

References

รัชพล วงศ์สวัสดิ์. (2555). การประเมินผลรูปแบบนโยบายแห่งรัฐในการแก้ปัญหาสถานการณ์ความ
ไม่สงบเรียบร้อยของจังหวัดชายแดนภาคใต้. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎ
สวนดุสิต, กรุงเทพฯ.

Downloads

Published

2020-04-02

How to Cite

วงษ์มณฑา อ. (2020). การประเมินผลรูปแบบนโยบายแห่งรัฐในการแก้ปัญหาสถานการณ์ความไม่สงบเรียบร้อยของจังหวัดชายแดนภาคใต้. RUSAMILAE JOURNAL, 41(1), 97–99. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/rusamelae/article/view/240127