Buddha-ization of Javanese Belief: The Case Study of Holy Water of Gunung Gede

Authors

  • เจษฎา บัวบาล

Abstract

งานที่ศึกษากิจกรรมทางศาสนามักเพ่งความสนูใจไปที่ตัวผู้นำศาสนาว่าเขามาเปลี่ยนคนอื่นอย่างไร จนละเลย บริบทความเชื้อขึ้น ๆ และอำนาจรัฐซึ่งดำรงอยู่ก่อน ทั้งที่ศาสนามักปรับตัวและต่อรองกับความเชื่อท้องถิ่นและนโยบายรัฐ งานทางชาติพันธุ์วรณาชิ้นนี้เสนอว่า พุทธศาสนาขององค์กรพุทธยานในอินโดนีเซียได้รับเอาความเชื่อท้องถิ่น คี้อ การอาบน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ใหลจากฎเขาเคอเตะ เมืองบอกอร์ ขวาตะวันตก โดยวัดศากยะวนารามได้สร้างพิธีกรรมแบบ พุทธขึ้นเพื่อรับกับกระแสเคร่งศาสนา แต่ก็ยังเปิดพื้นที่ให้คนต่างศาสนาได้ใช้ประโยชน์ กล่าวคือแม้จะไม่เข้าร่วมพิธีกรรม ของวัดก็ยังอาบน้ำศักดิ์สิทธิ์ได้อยู่ ศาสนาในอินโดนีเซียอยู่ภายใต้การจับต้องของรัฐ ในแง่หนึ่งศาสนิกถูกคาดหวังให้ ต้องมีอัตลักษณ์ชัดเจนซึ่งยึดโยงอยู่กับศาสนา แต่หากมีการผสมผสานด้านพิธีกรรมหรือการตีความคำสอนก็จะเสี่ยง ที่จะถูกจัดการ เมื่อพิจารณาผ่านกรอบคิดเรื่อง การผสมผสานที่เสนอโดย Peter A. Jackson ก็จะพบว่า การปะทะกัน ของหลายความเชื่อ โตยเฉพาะกรณีอาบน้ำศักดิ์สิทธิ์ของวัด ไม่จำเป็นต้องนำไปสู่การหลอมรวมจนเกิดศาสนาใหม่ที่ ผสมตัวยชวาหรืออิสลาม (syncretism!) ในทางตรงกันข้าม มันด้กลายเป็นพื้นที่ที่เปิดให้ผู้เข้าร่วมทำพิธีตามความเชื้อ ตนได้ 

Downloads

Published

2023-01-01

How to Cite

บัวบาล เ. (2023). Buddha-ization of Javanese Belief: The Case Study of Holy Water of Gunung Gede. RUSAMILAE JOURNAL, 43(2), 49–60. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/rusamelae/article/view/265922

Issue

Section

บทความวิชาการ