รูปแบบการบริหารงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชนสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

Authors

  • ประสิทธิ์ เผยกลิ่น บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
  • ประกฤติ พูลพัฒน์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
  • สุรพล พุฒคำ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
  • ผดุง พรมมูล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
  • อารมณ์ อุตภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
  • ดิเรก วรรณเศียร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

Abstract

การวิจัยเรื่องรูปแบบการบริหารงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชน สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของ
การบริหารงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชน สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) พัฒนารูปแบบการบริหารงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชน สำหรับสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน เป็นการวิจัยแบบผสมผสานโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพ
ปัจจุบันของการบริหารงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้วยการใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารสถานศึกษา
จำนวน 400 คน ใช้แบบสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษาที่เป็นแบบอย่างที่ดี จำนวน 9 คน ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบรูปแบบด้วยการนำข้อมูลที่ได้รับจาก
ขั้นตอนที่ 1 มาร่างรูปแบบการบริหารงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชนสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตรวจสอบรูปแบบเบื้องต้นด้วยการสัมภาษณ์
ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คนและขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารงาน ด้านความสัมพันธ์กับชุมชน
สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการจัดสัมมนาผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 31 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า
1) สภาพปัจจุบันของการบริหารงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมมีการปฏิบัติในระดับมาก ( = 4.09, S.D.
= 0.82) โดยงานประชาสัมพันธ์มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.33, S.D. = 0.73) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่งานร่วมกิจกรรมชุมชนและงานเกี่ยวกับ
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยงานที่มีระดับ การปฏิบัติน้อยที่สุด ( = 3.87, S.D. = 0.87) คืองานจัดตั้งกลุ่ม ชมรม สมาคม และมูลนิธิ
2) แบบอย่างที่ดีในการบริหารงานด้านการสร้างความสัมพันธ์ชุมชน พบว่าสถานศึกษาให้ความสำคัญมากที่สุดในงานเกี่ยวกับคณะกรรมการ
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน รองลงมาคืองานร่วมกิจกรรมชุมชน
3) รูปแบบการบริหารงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชน สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วย 5 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ส่วนนำ ส่วนที่ 2
โครงสร้างและบทบาทหน้าที่ของสถานศึกษาเกี่ยวกับงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชน ส่วนที่ 3 แนวทางบริหารงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชน ส่วนที่ 4
องค์ประกอบและตัวชี้วัดความสำเร็จของงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชน และส่วนที่ 5 เงื่อนไขการนำรูปแบบการบริหารงานด้านความสัมพันธ์กับ
ชุมชนไปใช้
ผลการตรวจสอบรูปแบบ พบว่ามีความเหมาะสมและสามารถนำไปปฏิบัติได้

Downloads

Published

2014-06-30

Issue

Section

Research Article