การผลิตและการบริโภคผักพื้นบ้านของเกษตรกร จังหวัดพัทลุง
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาจำนวนชนิดผักพื้นบ้านที่ปลูกและความรู้ในการบริโภคผักพื้นบ้านของเกษตรกร และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐาน เศรษฐกิจ การขาย การรับรู้ข่าวสารการรวมกลุ่มและสุขภาพของเกษตรกรกับจำนวนชนิดผักพื้นบ้านที่ปลูกและความรู้ในการบริโภคผักพื้นบ้านของเกษตรกรจังหวัดพัทลุง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เกษตรกรผู้ผลิตและบริโภคผักพื้นบ้าน ในจังหวัดพัทลุง จำนวน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเกษตรกรตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จำนวน 131 ราย และเกษตรกรตำบลบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์ จำนวน 114 ราย รวมทั้งสิ้น 245 ราย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่
ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าพิสัย และค่าไค-สแควร์ ผลการวิจัย พบว่า เกษตรกรมีจำนวนชนิดผักพื้นบ้านที่ปลูก และมีความรู้ในการบริโภคผักพื้นบ้านอยู่ในระดับน้อยและจากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศ ระดับการศึกษา การไปทัศนศึกษา และความสนใจรวมกลุ่มขายผักพื้นบ้าน มีความสัมพันธ์กับจำนวนชนิดผักพื้นบ้าน
ที่ปลูก และระดับการศึกษา แหล่งข้อมูลข่าวสาร และการดูแลสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับความรู้ในการบริโภคผักพื้นบ้านอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เกษตรกรผู้ผลิตและบริโภคผักพื้นบ้าน ในจังหวัดพัทลุง จำนวน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเกษตรกรตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จำนวน 131 ราย และเกษตรกรตำบลบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์ จำนวน 114 ราย รวมทั้งสิ้น 245 ราย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่
ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าพิสัย และค่าไค-สแควร์ ผลการวิจัย พบว่า เกษตรกรมีจำนวนชนิดผักพื้นบ้านที่ปลูก และมีความรู้ในการบริโภคผักพื้นบ้านอยู่ในระดับน้อยและจากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศ ระดับการศึกษา การไปทัศนศึกษา และความสนใจรวมกลุ่มขายผักพื้นบ้าน มีความสัมพันธ์กับจำนวนชนิดผักพื้นบ้าน
ที่ปลูก และระดับการศึกษา แหล่งข้อมูลข่าวสาร และการดูแลสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับความรู้ในการบริโภคผักพื้นบ้านอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
Article Details
Section
Research Articles