รูปแบบการดำเนินชีวิตครัวเรือนของหัวหน้าครอบครัวต่อการพัฒนาหมู่บ้าน ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของสถานีเกษตรหลวงปางดะ
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินชีวิต การพัฒนาหมู่บ้านตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการดำเนินชีวิตกับปัจจัยส่วนบุคคลของหัวหน้าครอบครัว ในพื้นที่สถานีเกษตรหลวงปางดะ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยประยุกต์โดยการเก็บข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
คือ ข้อมูลเชิงคุณภาพและข้อมูลเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้นำชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ปราชญ์ชาวบ้านและผู้อำนวยการภาครัฐและเอกชนที่มีผลต่อการวางแผนและพัฒนาชุมชน จำนวน 15 คน และข้อมูลเชิงปริมาณได้แก่ หัวหน้าครัวเรือนในพื้นที่ส่งเสริมและพัฒนาของสถานีเกษตรหลวงปางดะ อำเภอสะเมิง จังหวัด
เชียงใหม่ จำนวน 333 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกเป็นรายบุคคลต่อกลุ่มผู้นำทางความคิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการดำเนินชีวิตของหัวหน้าครัวเรือนเป็นแบบผู้ต่อสู้ดิ้นรนและทัศนะของหัวหน้าครอบครัวต่อการพัฒนา
หมู่บ้านตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นรากฐานของชีวิตทั้ง 6 ด้าน อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการลดรายจ่ายด้านการเพิ่มรายได้ ด้านการประหยัด ด้านการเรียนรู้และด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ผลการทดสอบความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลกับรูปแบบการดำเนินชีวิตของหัวหน้าครัวเรือน ไม่มีความสัมพันธ์กัน รูปแบบและการพัฒนา
หมู่บ้านตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงควรมุ่งเน้น 1) ภาครัฐควรจัดให้มีหน่วยงานส่งเสริมโดยกิจกรรมต่าง ๆ ให้มีการศึกษารูปแบบการดำเนินชีวิตตามเศรษฐกิจพอเพียง 2) ภาคเอกชนควรให้การศึกษารูปแบบดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีการกำหนดตัวบ่งชี้หรือกิจกรรมที่สามารถผลักดันหน่วยงานของตนให้สามารถดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
คือ ข้อมูลเชิงคุณภาพและข้อมูลเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้นำชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ปราชญ์ชาวบ้านและผู้อำนวยการภาครัฐและเอกชนที่มีผลต่อการวางแผนและพัฒนาชุมชน จำนวน 15 คน และข้อมูลเชิงปริมาณได้แก่ หัวหน้าครัวเรือนในพื้นที่ส่งเสริมและพัฒนาของสถานีเกษตรหลวงปางดะ อำเภอสะเมิง จังหวัด
เชียงใหม่ จำนวน 333 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกเป็นรายบุคคลต่อกลุ่มผู้นำทางความคิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการดำเนินชีวิตของหัวหน้าครัวเรือนเป็นแบบผู้ต่อสู้ดิ้นรนและทัศนะของหัวหน้าครอบครัวต่อการพัฒนา
หมู่บ้านตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นรากฐานของชีวิตทั้ง 6 ด้าน อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการลดรายจ่ายด้านการเพิ่มรายได้ ด้านการประหยัด ด้านการเรียนรู้และด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ผลการทดสอบความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลกับรูปแบบการดำเนินชีวิตของหัวหน้าครัวเรือน ไม่มีความสัมพันธ์กัน รูปแบบและการพัฒนา
หมู่บ้านตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงควรมุ่งเน้น 1) ภาครัฐควรจัดให้มีหน่วยงานส่งเสริมโดยกิจกรรมต่าง ๆ ให้มีการศึกษารูปแบบการดำเนินชีวิตตามเศรษฐกิจพอเพียง 2) ภาคเอกชนควรให้การศึกษารูปแบบดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีการกำหนดตัวบ่งชี้หรือกิจกรรมที่สามารถผลักดันหน่วยงานของตนให้สามารถดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
Article Details
Section
Research Articles