การศึกษาความเหมาะสมของการประยุกต์ใช้การประเมินแบบเสริมพลังอำนาจ ในการประเมินหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น และความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ ในสถานศึกษา

Authors

  • นิติ นาชิต ภาควิชาบริหารเทคนิคศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • ชัยวิชิต เชียรชนะ ภาควิชาบริหารเทคนิคศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • สิริรักษ์ รัชชุศานติ ภาควิชาบริหารเทคนิคศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

Keywords:

Empowerment Evaluation, An Evaluation appropriateness and Feasibility

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้การประเมินแบบเสริมพลังอำนาจ ในการประเมินหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาความเหมาะสมของการประยุกต์ใช้การประเมินแบบเสริมพลังอำนาจ ในการประเมินหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น และความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ในสถานศึกษาการวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 8 คน และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 24 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง โดยใช้เครื่องมือคือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง และแบบความเหมาะสมของการประยุกต์ใช้การประเมินแบบเสริมพลังอำนาจ ในการประเมินหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น และความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ในสถานศึกษาผลการวิจัยพบว่า 1) การประยุกต์ใช้การประเมินแบบเสริมพลังอำนาจ ในการประเมินหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในสถานศึกษา มี 4 ขั้น คือขั้นการรวบรวมข้อมูล (taking stock: T) เป็นจัดประชุมเพื่อหาสภาพปัจจุบันของการประเมินหลักสูตวิชาชีพระยะสั้นในสถานศึกษา หาร่องรอยหลักฐานประกอบให้สมาชิกระดมสมองเพื่อวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของสถานศึกษา เกี่ยวกับการประเมินหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในสถานศึกษา และสมาชิกลงมติเกี่ยวกับ
สภาพปัจจุบันปัญหา จุดอ่อนจุดแข็งของการประเมินหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในสถานศึกษา ขั้นการตั้งเป้าหมาย (setting goals: S) เป็นกำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมินหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นของสถานศึกษาระดมสมองเพื่อกำหนดขอบเขตของการประเมินหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นของสถานศึกษา ร่วมกันออกแบบการประเมิน
หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นของสถานศึกษา และกำหนดตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นของสถานศึกษาขั้นการพัฒนากลยุทธ์เพื่อปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมาย (developing strategies: Ds) เป็นใช้กระบวนการกลุ่มในการพัฒนาเครื่องมือประเมินหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในสถานศึกษากำหนดกลยุทธ์ในการประเมินหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในสถานศึกษาหามติเกี่ยวกับกลยุทธ์และวิธีการปฏิบัติในการประเมินหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในสถานศึกษา และดำเนินการปฏิบัติตามกลยุทธ์และวิธีการปฏิบัติที่วางไว้ขั้นการจัดหาหลักฐานที่แสดงถึงความก้าวหน้าในการปฏิบัติงาน (documenting progress: Dp) เป็นร่วมกันกำกับติดตามการดำเนินการประเมินหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นให้เป็นไปตามกลยุทธ์และวิธีปฏิบัติที่กำหนดไว้รวบรวมหลักฐานตามเครื่องมือประเมินที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้วิเคราะห์ข้อมูลการประเมินหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในสถานศึกษา และสรุปผลและรายงานผลการประเมินหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในสถานศึกษาและ 2) ผลการประเมินความเหมาะสมของการประยุกต์ใช้การประเมินแบบเสริมพลังอำนาจ ในการประเมินหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น และความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ในสถานศึกษาสรุปได้ว่า รูปแบบการประเมินหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในสถานศึกษามีความเหมาะสมของการประยุกต์ใช้การประเมินแบบเสริมพลังอำนาจ ในการประเมินหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น และความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ในสถานศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่ามัธยฐานอยู่ในระดับมากที่สุด และมีค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ที่แสดงให้เห็นว่าความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญมีความสอดคล้องกัน

Downloads

Issue

Section

Research Article