ปัญหาเชิงโลกาภิวัตน์ในขบวนการท้องถิ่นนิยมของเพลงโคราช

Main Article Content

ปราโมทย์ ภักดีณรงค์

Abstract

บทความนี้ผู้เขียนตั้งใจพิจารณาเงื่อนไขของสถานภาพของความเป็นท้องถิ่นในสังคมไทย ซึ่งปัจจุบันได้กลายเป็นส่วนเดียวกันกับสังคมโลก ผู้เขียนใช้วิธีการทางสังคมวิทยาเชิงการตีความ คือการสังเกตปรากฏการณ์ทางสังคมการตีความหมายทางสังคมของปรากฏการณ์ดังกล่าว และนำไปสู่การวิเคราะห์โครงสร้างของสังคม ผู้เขียนโต้แย้ง
แนวความคิดของขบวนการท้องถิ่นนิยมบางแนวคิดที่มองว่าเพลงโคราชเป็นรากเหง้าทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นและกำลังเสื่อมหายไปเนื่องจากการเข้ามาของวัฒนธรรมต่างชาติหรือวัฒนธรรมโลกาภิวัตน์ ผู้เขียนได้เสนอแนวความคิดใหม่เกี่ยวกับความเป็นท้องถิ่นของเพลงโคราชว่าเกิดขึ้นจากกระบวนการของความตระหนักรู้ทางสังคมของคนในยุคโลกาภิวัตน์ มากกว่าจะเป็น "มรดก" จากอดีต และผู้เขียนเสนอว่ากระบวนการของการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ ของเพลงโคราชอย่างต่อเนื่องคือเงื่อนไขของการดำรงอยู่ของความเป็นท้องถิ่นดังกล่าว

Article Details

Section
Academic Article