แนวทางการพัฒนาส่วนประสมทางการตลาดโครงการหลวงหนองหอย เพื่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืน โดยประยุกต์ใช้การวิเคราะห์คาโนโมเดล

Main Article Content

รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร
เบญญาภา กันทะวงศ์วาร
รุจิรา สุขมณี
ชัชวิน วรปรีชา

Abstract

การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษา แนวทางและความต้องการของนักท่องเที่ยวที่มีต่อส่วนประสมทางการตลาดของการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพื่อพัฒนาไปสู่การท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืนโดยประยุกต์ใช้การวิเคราะห์คาโนโมเดล ในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่างได้แก่นักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างประเทศที่มาท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 400 ราย โดยรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย อายุ 20–30 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพพนักงานของเอกชน รายได้ 10,001–19,999 บาท โดยให้ความสำคัญปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของนักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านสถานที่และช่องทางการจัดจำหน่าย และปัจจัยด้านการส่งเสริมการขาย โดยการประเมินสัมประสิทธิ์ระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวในการพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ จะให้ความสำคัญด้านผลิตภัณฑ์ในการพัฒนาและออกแบบ ดังนี้ 1) การส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวได้ร่วมกิจกรรมและท่องเที่ยวเชิงเกษตรโดยเพิ่ม วิถีการดำเนินชีวิตวัฒนธรรม ประเพณี และให้ศึกษาความรู้ประวัติการดำรงชีวิตและปราชญ์ชาวบ้าน 2) สิ่งที่อำนวยความสะดวกสบายและมีความเป็นธรรมชาติของวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชน และควรหลีกเลี่ยงการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่มีลักษณะปรากฏเหมือนการท่องเที่ยวทั่วไป ซึ่งผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าระหว่าง อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยของนักท่องเที่ยวไม่มีแตกต่างกันต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ซึ่งการพัฒนาส่วนประสมทางการตลาดเพื่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพื่อความยั่งยืนควรมุ่งการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของนักท่องเที่ยวตามแบบของคาโนโมเดลที่มุ่งเน้นผลิตภัณฑ์ 1) สิ่งอำนวยความสะดวกสบายและมีความเป็นธรรมชาติของวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชน 2) สิ่งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาท่องเที่ยวนั้นควรให้มีกิจกรรมเกี่ยวกับการเกษตร โดยการถ่ายทอดภูมิปัญญาชาวบ้าน วิธีการดำเนินชีวิตของชุมชน 3) ความพอใจของนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวเชิงเกษตรนั้นควรส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวได้ร่วมกิจกรรมและท่องเที่ยวเชิงเกษตรโดยเพิ่ม การประกอบอาหารพื้นบ้าน วัฒนธรรม ประเพณีและให้ศึกษาความรู้ประวัติการดำรงชีวิต และปราชญ์ชาวบ้าน

Article Details

Section
Research Articles