ความรู้และความตระหนักของอาสาสมัครเกษตรที่มีต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมทางการเกษตรในจังหวัดภูเก็ต
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้และความตระหนักของอาสาสมัครเกษตรที่มีต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมทางการเกษตรและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านข้อมูลพื้นฐาน การเป็นอาสาสมัครเกษตร และการรับรู้ข่าวสาร กับความรู้และความตระหนักที่มีต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมทางการเกษตรในจังหวัดภูเก็ต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย คือ อาสาสมัครเกษตรในจังหวัดภูเก็ต จำนวน 223 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าพิสัย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าไคสแควร์ ผลการวิจัย พบว่า ระดับการศึกษาและภูมิลำเนาเดิม มีความสัมพันธ์กับความรู้ที่มีต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมทางการเกษตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนอายุและอาชีพ มีความสัมพันธ์กับความตระหนักที่มีต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมทางการเกษตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
References
กวี สุภานันท์. (2535). ความรู้และความตระหนักของนักเรียนนายร้อยตำรวจเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม. วิทยานิพนธ์สังคมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.
คณะกรรมการนโยบายอาสาสมัครเกษตร. (2551). คู่มืออาสาสมัครเกษตร [ออนไลน์]. ได้จาก: http://www.asakaset.
doae.go.th.
ดนัย ศิริพรทุม. (2547). ความตระหนักต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีทางการเกษตรของเกษตรกรผู้ปลูกกะหล่ำปลี อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธิดารัตน์ สุภาพ. (2548). ความตระหนักในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของประชาชนในอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ภาคภูมิ สดายุรัตน์. (2543). ความรู้และความตระหนักต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมของพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายการผลิตเขื่อนภูมิพล. การค้นคว้าอิสระปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วิฑูรย์ ปัญญากุล. (2544). เกษตรยั่งยืน: วิถีการเกษตรแห่งอนาคต. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์กรีนเนท.
สำนักงานเกษตรจังหวัดภูเก็ต. (2551). ผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยีทางการเกษตร [ออนไลน์]. ได้จาก: http://
www.phuket.doae.go.th.
สำนักงานจังหวัดภูเก็ต. (2552). บรรยายสรุปจังหวัดภูเก็ต [ออนไลน์]. ได้จาก: http://www.phuket.go.th.