แนวทางการส่งเสริมบทบาทของวิทยุชายแดนไทยเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

วีรพงษ์ พลนิกรกิจ

Abstract

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานภาพของวิทยุชายแดนไทยจังหวัดหนองคาย เพื่อประยุกต์ใช้แนวคิดเรื่องการสื่อสารระหว่างประเทศแบบมีส่วนร่วม ตลอดจนศึกษารูปแบบและเนื้อหารายการของวิทยุชายแดนไทย-ลาว จังหวัดหนองคายที่มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ไทย-ลาว และศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับฟังวิทยุชายแดนของคนไทยและ สปป.ลาว รวมทั้งแสวงหาแนวทางการส่งเสริมบทบาทของวิทยุชายแดนไทยในการส่งเสริมความสัมพันธ์ไทย-ลาว การศึกษาพบว่า วิทยุชายแดนไทย-ลาว จังหวัดหนองคายมีสถานภาพ ทั้งศักยภาพและปัจจัยภายนอกที่เสริมศักยภาพ รวมทั้งปัจจัยภายในและภายนอกที่เป็นอุปสรรคต่อวิทยุชายแดนไทยในการทำหน้าที่ด้านการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างไทย-ลาว โดยวิทยุชายแดนไทยได้รับความนิยมในการเปิดรับฟังจากกลุ่มตัวอย่าง สปป.ลาว จำนวนมาก (ฟัง 97.25%) ในขณะที่วิทยุชายแดน สปป.ลาว ไม่ได้รับความสนใจจากกลุ่มตัวอย่างคนไทยมากนัก (ฟัง 27.00%) แม้ว่าจะมีความพยายามจากฝ่ายไทยและการวิจัยครั้งนี้ที่จะผลักดันความร่วมมือในการมีส่วนร่วมผลิตรายการระหว่างประเทศไทยและ สปป.ลาวแล้ว แต่ก็พบกับอุปสรรค ซึ่งต้องมีการพูดคุยกัน ระหว่างผู้นำของ 2 ประเทศ กระนั้นก็ตาม วิทยุชายแดนไทยมีบทบาทในด้านการเชื่อมสัมพันธ์ด้วยความบันเทิงผ่านเสียงเพลง และการโฆษณาสินค้าและบริการทั้งฝั่งไทยและลาว ฯลฯ

Article Details

Section
Research Articles

References

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (2537). ม่วนซื่นเมืองลาว. กรุงเทพฯ : อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

กาญจนา แก้วเทพ. (2543). การสื่อสารกับพื้นที่สาธารณะ: ทัศนะของ Habermas ใน กาญจนา แก้วเทพ กิตติ กันภัย และปาริชาต สถาปิตานนท์, กรุงเทพฯ : เอดิสัน เพรส โพรดักส์.

กาญจนา แก้วเทพ, กำจร หลุยยะพงศ์, รุจิรา สุภาษา และวีรพงษ์ พลนิกรกิจ. (2543). สื่อเพื่อชุมชนการประมวลองค์ความรู้. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

กระทรวงการต่างประเทศ. (2544). ดร.สรุเกียรติ์ฯ แถลงผลสำเร็จการเยือนลาว. กรุงเทพฯ : กระทรวงการต่างประเทศ (ผู้ผลิตและเผยแพร่). [ออนไลน์]. ได้จาก : http://www.mfa.go.th/web/463.php?id=411

กระทรวงการต่างประเทศ. คำศัพท์-คำย่อทางการทูต. กรุงเทพฯ : กระทรวงการต่างประเทศ (ผู้ผลิตและเผยแพร่). (2552). [ออนไลน์]. ได้จาก : http://www.mfa.go.th/web/856.php?code=s

เขียน ธีระวิทย์, อดิศร เสมแย้มและทานตะวัน มโนรมย์. (2544). ความสัมพันธ์ไทย-ลาวในสายตา ของคนลาว.กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

คณะทำงานร่วมธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. (2539). ปัญหาการค้าชายแดนไทย-ลาว (นครพนม-คำม่วน และเชียงราย-บ่อแก้ว). กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

จังหวัดหนองคาย. ข้อมูลทั่วไป. หนองคาย : สำนักงานจังหวัดหนองคาย (ผู้ผลิตและเผยแพร่). (2551). [ออนไลน์].

ได้จาก : http://203.146.129.243/~nongkhai/web2/index.php?module= ContentExpress&func=display&ceid=23

ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (2543). เอกสารสรุปการสัมมนาเรื่อง ก้าวเดินไปข้างหน้ากับการค้าไทย-ลาว. ขอนแก่น : คลังนานาวิทยา.

ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (2543). สถานการณ์การค้าชายแดนไทย-สปป. ลาว ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปี 2542. ขอนแก่น : คลังนานาวิทยา.

ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (2545). สรุปสถานการณ์การค้า ชายแดนไทย-สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปี 2544. ขอนแก่น : คลังนานาวิทยา.

ปาริชาต สถาปิตานนท์ และคณะ. (2549). การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชน: จากแนวคิดสู่ปฏิบัติการวิจัยในสังคมไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ปรัชญา เวสารัชช์. (2536). หน่วยที่ 2 ทฤษฎีและแนวทางการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ. เอกสารประกอบการสอนชุดวิชา ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หน่วยที่ 1-7. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ผนุรัตน์ โกศัย. (2545). พฤติกรรมการรับชมและการรับรู้รายการละครโทรทัศน์ไทยของคนลาวในเวียงจันทน์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาการสื่อสารมวลชน บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิภา อุตมฉันท์. (2544). ผลกระทบของสัญญาณวิทยุและโทรทัศน์ข้ามพรมแดนระหว่างไทย-ลาว. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศุภางค์ นันตา. (2542). การเปิดรับสื่อวิทยุ-โทรทัศน์จาก สปป.ลาวของผู้รับสารตามแนวชายแดนไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาการสื่อสารมวลชน บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย. MCOT Variety. กรุงเทพฯ : องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (ผู้ผลิตและเผยแพร่). (2551). [ออนไลน์]. ได้จาก : http://variety.mcot.ne/inside.php?docid=2092&doctype=13

อมรทิพย์ อมราภิบาล. (2545). มิติวัฒนธรรมของความสัมพันธ์ระหว่างไทยและประเทศเพื่อนบ้าน: กรณีศึกษาชายแดน

ไทย-ลาวพื้นที่จังหวัดหนองคาย. ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา.

Arnaldo, C. A. (2000). Clockwork Orange, 1984 or the power to be, in Servaes, J. (ed.), Walking on the other side of

the information highway: communication, culture and development in the 21st century. Penang:

Southbound.

McQuail, D. (2001). Emerging challenges to media theory, in Melkote, S. R and S. Rao (eds.), Critical issues in

communication: looking inward for answers: essays in honor of K.E. Eapen. New Delhi: Sage.

Mowlana, H. (1997a). Global information and world communication: new frontiers in international relations

(2nd edn), London: Sage.

Mowlana, H. (1997b). The media and foreign policy: a framework of analysis, in Malek, A. (ed.), News media and

foreign relations: a multifaceted perspective. Norwood, N.J.: Ablex.

Nair K. S. and S. A. White. (1994). Participation message development: a conceptual framework, in White, S. A., K.

S. Nair and J. Ascroft (eds.), Participatory communication: working for change and development. New

Delhi: Sage.

UNESCO. (2004). Declaration on fundamental principles concerning the contribution of the mass media to

strengthening peace and international understanding, to the promotion of human rights and to

countering racialism, apartheid and incitement to war [Homepage of UNESCO] [On-line]. Available :

http://www.unesco.org/shs/human_rights/hrbd.htm

White, S. A. (1994). The concept of participation: transforming rhetoric to reality, in White, S. A. and others (eds.),

Participatory communication: working for change and development. New Delhi: Sage.